วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Taipei Fine Arts Museum

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ ภาควิชาสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
 
            Taipei Fine Arts Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ ขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่ ณ เมืองไทเป เกาะไต้หวัน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบสมัยใหม่เหมือนกล่องสี่เหลี่ยม ภายในจัดนิทรรศการที่เป็น Collection และนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งมีการติดต่อกับ Art Collection ระดับโลกมากมาย
            ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558  ที่ได้ไปเยี่ยมชมนี้มีนิทรรศการใหญ่ 3 นิทรรศการ คือ
1.      นิทรรศการ Lee Mingwei and His Relations: The Art of Participation
(Seeing, Conversing, Gift-giving, Writing, Dining and Getting Connected to the World) ซึ่ง Lee Mingwei และกลุ่มของเขาได้รวบรวม 15 major projects ที่สำคัญ รวมถึงประสบการณ์การทำงานในฐานะศิลปินอาชีพตลอด 20 ปีในการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยว นิทรรศการนี้ประกอบด้วยผลงานประเภทภาพถ่าย, Installation Art, VDO, Mixed Media และ Performance Art โดยมีผลงานของศิลปิน Contemporary art ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาจัดแสดงร่วมด้วย เช่น Hakuin, D. T. Suzuki, Yves Klein, John Cage, Allan Kaprow, and Rirkrit Tiravanija, as well as Wu Mali, Michael Lin, Jun Yang, และ Wu Chien-Ying












 
2.      นิทรรศการ Formosa in Formation: Selected works from the Taipei Fine Arts Museum Collection ซึ่งเป็นนิทรรศการที่เอาผลงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นผลงานศิลปะที่สร้างในช่วงปี ค.ศ. 1895 – 1947 อันเป็นช่วงเวลาที่ไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลงประเทศหลายอย่าง นิทรรศการนี้รวมผลงานศิลปินไต้หวันระดับ Master ซึ่งประกอบไปด้วยผลงานประเภทจิตรกรรมและประติมากรรม โดยที่สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
ผลงานศิลปะที่มีรูปแบบและเนื้อหาแบบประเพณีเดิมของจีน
ผลงานศิลปะที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก
ผลงานศิลปะที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่ผสมผสานกันระหว่างประเพณีเดิมของจีนและอิทธิพลตะวันตก











 
3.      นิทรรศการ Make Sense ซึ่งเป็นนิทรรศการที่เชิญศิลปินร่วมสมัยของไต้หวันมาสร้างสรรค์และแสดงนิทรรศการในแนวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของโลกและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดนิทรรศการเป็นผลงานงานที่หลากหลาย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย Installation, VDO และ Mixed Media โดยแต่ละผลงานมีกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุความหมายตามที่มีการเปลี่ยนแปลงและการสร้างความเป็นไปได้ในการผลิตความคิดและการประเมินผลในอนาคต โดยการจัดนิทรรศการนี้ถือเป็นความห่วงใยในสังคมและพลังงานของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงและมุ่งไปที่สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น











 
และจากที่ได้เยี่ยมชมผลงานทั้งหมดแล้ว ก็พบว่าคนไต้หวันให้ความสำคัญกับผลงานศิลปะมาก พวกเขาพาครอบครัวหรือเยาวชนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเยี่ยมชม อีกทั้งคนในวัยต่างๆ ก็เข้ามาดูงานศิลปะ แม้ว่าคนดูอาจจะไม่ล้นหลามเท่ากับพิพิธภัณฑ์ศิลปะอย่างในทวีปยุโรปหรือที่อเมริกา แต่ก็ถือว่าเยอะกว่าที่ประเทศไทย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีที่คนไต้หวันสนับสนุนผลงานศิลปะในเรื่องของการดู เพราะการดูผลงานศิลปะเป็นการพัฒนาระบบการมองที่นอกเหนือจากการอ่านตัวหนังสือหรือดูภาพเคลื่อนไหวอย่างภาพยนตร์ แต่การดูแบบจ้องมองผลงานศิลปะเป็นเรื่องของประสบการณ์ทางสุนทียะและการตีความจากสิ่งปรากฏตรงหน้าไปสู่กระบวนคิดและจินตนาการได้อย่างดี
 
 
ติดตามข่าวสาร
Taipei Fine Arts Museum

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น