วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

อันเนื่องจากดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ



ผมถ่ายภาพนี้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ (Mori Art Museum) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ตอนนี้บ้านเราเกิดกระแสฮิตเข็มกลัดและผลิตภัณฑ์ที่มีรูปเจ้า “ดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ” มากๆ ทั้งตลาดบนและตลาดล่าง ของของจริงและของก๊อป คำถามคือไอ้ดอกไม้นี้คืออะไรกันแน่

รูปเจ้า “ดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ” (Flower Murakami) เป็นงานศิลปะและผลงานออกแบบของศิลปินญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงชื่อทาคาชิ มูราคามิ (Takashi Murakami)
มูราคามิ มีชื่อเสียงทั้งในด้านของงานศิลปะแนวป๊อบสมัยใหม่ของญี่ปุ่น (Japanese Pop Art) ที่เรียกว่า Superflat Art ซึ่งผสามผสมผานงานจิตรกรรมและกราฟิกแบบสมัยใหม่ญี่ปุ่น และได้รับเชิญไปออกแบบให้กับสินค้าแบรนด์ดังดังต่างๆทั่วโลก
เขาใช้รูปลักษณ์ (Image) ของภาพญี่ปุ่นโบราณ การ์ตูนญี่ปุ่น (manga & anime) และวัฒนธรรมป๊อป (Poppular Culture) มาเป็นแรงบันดาลใจที่ไปสู่แนวความคิดในการสร้างสรรค์

มูราคามิเป็นศิลปินที่ผสมผสานการจัดการระหว่างงานศิลปะกับธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ถือเป็นดุจแอนดี วาร์ฮอล์ (Andy Warhol) แห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน ราคาผลงานและความโด่งดังของงานออกแบบของมูราคามิถือว่าเทียบเท่ากับศิลปินรุ่นใหญ่อย่างยาโยย คูซามะ (Yayoi Kusama) หรือคุณป้ายาโยย หรือคุณป้าลายจุด ศิลปินหญิงผู้ยิ่งใหญ่วัยชรา ผลิตภัณฑ์ของมูราคามิเป็นที่ฮิตมากทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก

“ดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ” คือ แนวคิดที่ล้อเลียนและตีโต้เหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูเมื่อปี 1945 ที่ญี่ปุ่น ทั้งเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ซึ่งมีคนตายนับแสน ภาพระเบิดที่เป็นรูปดอกเห็ดขนาดใหญ่และรังสีแห่งระเบิดอะตอมที่แผ่ซ่ายไปทุกอณูหลายสิบกิโลเมตร ยังผลให้ชาวญี่ปุ่นได้รับผลเสียกันนับล้านคนในเวลาหลายปีต่อมา
ดอกไม้สีรุ้งคือการเย้ยหยันต่อบาดแผลสงครามที่เป็นการยิ้มเยาะของดอกไม้ราวกับว่า “โอเค!!! ฉันแพ้แล้ว (แล้วไง?) (The smiling flowers are just like, ‘Ok! We give up!'”) (ที่มา: https://www.cocomarett.com/…/takashi-murakami-master-muraka…)

ตอนนี้บ้านเราเกิดกระแสฮิตเข็มกลัดและผลิตภัณฑ์ที่มีรูปเจ้า “ดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ” มากๆ ทั้งตลาดบนและตลาดล่าง ของของจริงและของก๊อป คำถามคือไอ้ดอกไม้นี้คืออะไรกันแน่
ปรากฏการณ์สำคัญ จึงแสดงความเป็นไทยๆ แบบบ้านเราที่มักชื่นชมของนอก
สิ่งนี้ไม่ได้ผิดหรือถูก เพราะบ้านเราก็รับความเป็นตะวันตกและต่างชาติมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนโลกาภิวัฒน์มาถึงพร้อมกับการสื่อสารไร้พรมแดนในยุคดิจิทัล ความของแท้ (originality) และความเป็นของก๊อป (reproduction) จึงเริ่มข้ามพรมแดนเป็นหนึ่งเดียวดังในงานเขียนเรื่อง "งานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำแบบจักรกล" ของวอลเตอร์ เบนยามิน (Walter Benjamin) หรือแม้แนวคิดสนับสนุนและผลิตซ้ำดังในงานศิลปะของวาร์ฮอล์

เมื่อทุนนิยมได้เปิดทางแล้ว ของแท้หรือของก็อปก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเป้าหมายสำคัญคือการเสพ
แต่ปัญหา คือ ของแท้นั้นมีลิขสิทธิ์ ของก็อปมันคือก็อป ของแท้มันแพงจริงๆ
ผมไปเจอเจ้า “ดอกไม้สีรุ้งของมูราคามิ” ที่ญี่ปุ่น มันไม่ได้ถูกสำหรับเรา จึงไม่ได้ซื้อมา แต่หากอยากได้ ก็ควรซื้อของแท้ ไม่ใช่แท้เพราะแพง แต่แท้เพราะเราซื้องานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยศิลปิน มันมี story ของตัวเอง มันมีคุณค่าบางอย่าง มันเกิดขึ้นจากความคิดศิลปินที่บ่มเพาะจนเกิดการสร้างสรรค์ และมันมีความหมายบางอย่างที่ซ่อนอยู่

แต่ก็อย่างว่าละครับ มาถึงจุดนี้ ใครจะชอบเจ้าดอกไม้สีรุ้งนี้ จะซื้อแท้ จะซื้อเทียม จะสะสม ก็สุดแท้แต่
เพราะสิทธิ์ในโลกทุนนิยม อยู่ที่กับความชอบหรือรสนิยมส่วนตัวของแต่ละคน (อันอยู่ภายใต้กรอบคิดแบบในงานเขียนชุด Mythology ของโรล็อง บาร์ต (Roland Barthes)

ผมพิมพ์ แค่อยากแชร์ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นหน่อยๆ เท่านั้น ไม่ได้ไปตีโต้หรือใดๆ กับผู้ที่ชื่นชอบ หรืออยากสะสมเจ้าดอกไม้สีรุ้งนี้นะครับ
เพราะจริงๆ ผมก็ชอบงานของทาคาชิ มูราคามิ มานานแล้ว แต่มันแพงงงจริมๆๆๆ

หวังว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้ที่จะสะสม (ไม่ว่าแท้ หรือเทียม ก็สุดแท้แต่ใจจะไขว่คว้าเลย) นะครับ
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่