วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art)

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art)
ในสภาวะยุคก่อนสมัยใหม่ จะเน้นหลักปรัชญาแนวคิดในเชิงอุดมคติมากกว่าค้นหาสถาวะแห่งความจริง นักคิด นักปรัชญาและผู้สร้างสรรค์ศิลปะ นำสิ่งต่างๆมาประติดประต่อเป็นความจริงเชิงสากล ทั้งนี้ ก่อนยุคคริสเตียน อิทธิพลแนวคิดแบบคลาสสิก (อารยธรรมกรีก) ครอบคลุมทุกปริมณฑลปวงปรัชญาตะวันตก นั่นคือ ค้นหาความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน บังเกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านตรรกะเช่น คณิตศาสตร์เป็นต้น
            เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคกลาง แนวคิดแบบ คริสเตียนกลายเป็นสิ่งที่ครอบงำโลกตะวันตก มนุษย์ไม่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆได้ ทั้งนี้ ได้ก่อความเชื่อทางศาสนาคริสต์ได้จำกัดคำถามของปัจเจกภาพความเป็นมนุษย์ เกิดแนวคิดที่ว่า สรรพสิ่งเกิดจากพระเจ้า
            หลังยุค ปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ได้นำองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นพื้นฐานทางความคิดและพัฒนาควบคู่มากับองค์ความรู้แบบวิทยาศสาสตร์ จนเมื่อก้าวเข้ายุคใหม่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ถูกผสานเข้ากับแนวคิด มนุษย์นินมจนเกิดประโยคของนิชเชที่ว่า “ พระเจ้าตายแล้ว” นั่นหมายถึงคำประกาศเพื่อท้าทายอำนาจการครอบงำของแนวคิดแบบคริสเตียนที่ครอบคลุมมากว่าพันปีสู่การตั้งคำถามการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสภาวะการแบบสมัยใหม่


สภาวะทั่วไปของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art)[1]
คริสต์ทศวรรษ 1860-1970
โดยทั่วไปคำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ตรงกับคำว่า สมัยใหม่ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัยศิลปะล้วนแล้วแต่ ใหม่ (modern)” สำหรับผู้สร้างมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง ใหม่ (modern)” ในความหมายนี้
หรืออีกนัยหนึ่ง ในความหมายแบบกำปั้นทุบดินสมัยใหม่ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่าสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ เก่าหรือ ประเพณีดังเช่นความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของสมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ
ลักษณะสำคัญของ ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) และ ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism, โมเดิร์นนิสม์) คือทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้วโดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรปศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัยในยุคของตนว่าสามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุคโบราณหรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต
จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปนเรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขาได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟกูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์มาเนต์ (EdouardManet)
ในจุดเริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา
ความใหม่คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ อาวองท์-การ์ด” (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน)ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปแต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัยบางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน
บทบาทของผู้อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมากได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีตซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง
นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยมก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า ศิลปะเพื่อศิลปะที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปินที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและศาสนา
การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ ความเป็นอุตสาหกรรม”, “ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานครและการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลางโดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม
ศิลปะสมัยใหม่มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยีการค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย
แนวเนื้อหาของการเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม ความเร็วดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวกคอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต)
การค้นหาจิตวิญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอสตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabisในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์บลาวไรเตอร์ หรือ เดอะบลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิคเยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่
ความสนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือโอเชียนนิคOceanic) จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism) และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20) ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ จักรวรรดินิยม” (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) ค้นพบวัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น


1.      ทฤษฎีรับรู้ทางการเห็น (A Theory of Visual Perception)
1.1  การเห็นเกี่ยวกับความลึก,แสง,ภาพถ่าย (Depth, Light & Photography)
1.1.1        การรับรู้แสงจะมีลักษณะความอ่อนแกหลายระดับซึ่งเชื่อมโยงกับการรับรู้ภายในสมอง และเกี่ยวกับความจัดจ้าของแสงที่ส่งผลในการเห็นสีและรูปทรง
1.1.2        สี คือ ผลที่เกิดจากแสงที่กระทบวัตถุและเข้ามาสู่การรับรู้ทางตา เมื่อมีความจัดจ้าของแสงที่ต่างกันก็จะกระตุ้นการรับรู้ธาตุสี ทำให้เกิดสีต่างๆขึ้นมากมาย
1.1.3        แนวคิดสำคัญที่ว่าการรับรู้ทางสายตา เกิดจากการวินิจฉัยอันฉับพลันของจิตใต้สำนึก
1.2  การถ่ายภาพกับความแบน (Photography Flatness)
1.2.1        ภาพถ่ายทำให้เกิดพื้นที่ว่างทางการเห็น ทำหมีลักษณะบ่งชี้ความลึกที่ไม่มากนักโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นที่เป็นภาพขาวดำ ซึ่งการใช้แฟล็ชเกิดจากใช้แสงที่ผิดปกติโดยฉับพลัน อันจะเกิดความขัดแย้งของสีขาวดำ อันนำมาสู่ภาพฉากที่แบน(Plain Flat Backdrops)
1.2.2        ศิลปินพยายามหาความแปลกมากกว่าภาพถ่าย นั่นคือ ใช้ทฤษฎีสีมาสร้างงานจิตรกรรม
1.2.3        ศิลปินเอาลักษณะความแบนมาใช้ในงานศิลปะ
2.      ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์ (Relation between Art & Science)
2.1  ทฤษฎี “ความสัมพันธ์ของสียุคสมัยใหม่” เช่น ถ้าหากมองดูสิ่งทั่วๆด้วยวิธีที่ผิดปกติ อาทิ การมองดูลอดใต้แขนหรือในท่าทีผิดปกติจะทำให้สีที่เห็นสดใสกว่าปกติและระยะของภาพจะมีมิติที่แบนลง
2.2  อารมณ์ของแต่ละคนจะสามารถเปลี่ยนแปลไปหากมองในท่าทีที่ผิดปกติ การกะระยะจะคลาดเคลื่อนเพราะมิติจะลดลงกว่าปกติ
3.      มาเน่ต์และความแบนสมัยใหม่ (Manet& Modern Flatness)
3.1  เกิดภาพถ่าย มีการลดทอนผลงานทางด้านจิตรกรรมให้มีความแบนแบบภาพถ่าย
3.2  แนวทางจิตรกรรมสเปนที่ต้องระบายสีขาวดำก่อนจะลงสีจริงทำให้ภาพที่ปรากฏมีความแบนคล้ายภาพถ่าย
3.3  อิทธิพลภาพพิมพ์ญี่ปุ่นที่มีลักษณะแบนและมีอง๕ประกอบที่แปลกใหม่
4.      มาเน่ต์กับข้อสมมุติฐานของอาร์นไฮม์เกี่ยวกับภาพยนตร์ (Manet&Arnheim’s Thesis on The Cinema)
มีการจัดแสงคล้ายกับภาพยนตร์ลึกลับ ฉากน่าสนใจ และเป็นมิติแบน


[1]บทความนี้นำมาจาก http://www.designer.in.th/artistic-movement/modern-art.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น