วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

เมื่อได้อ่าน "โลกของโซฟี"

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ


ราว ๆ สัปดาห์กว่า ๆ ที่ผมใช้เวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่อย ๆ อ่านหนังสือแปลเล่มหนึ่งที่ซื้อมาราวต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจากร้านหนังสืออิสระที่ชื่อ “A BOOK with NO NAME” ที่ตั้งอยู่ในย่านสามเสน
หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า “โลกของโซฟี”

“โลกของโซฟี” (Sofies verden) เป็นวรรณกรรมเชิงปรัชญาของนักเขียนชาวนอร์เวย์ชื่อ Jostein Gaarder ผู้สอนวิชาปรัชญา โดยมีเป้าหมายในการย่อยและสกัดแนวคิดของนักปรัชญาที่สำคัญตั้งแต่ยุคกรีกจนถึงศตวรรษที่ 20 ให้ออกมาในรูปของนิยายและบทสนทนาผสมผสานกับสถานการณ์เหนือความจริงด้วยการอธิบายอย่างง่าย ๆ จนกลายเป็นหนังสือที่ได้รับการกล่าวขานในวงกว้าง ด้วยการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 53 ภาษา และยอดการพิมพ์กว่า 30ล้านกว่าเล่ม ทั่วโลก

“โลกของโซฟี” เป็นนิยาย (ฉบับแปลภาษาไทยโดย สายพิณ ศุพุทธมงคล) มีขนาดยาว 523 หน้า เล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ โซฟี เรียนแนวคิดปรัชญากับชายลึกลับชื่อ อัลแบร์โต จนเป็นบทสนทนาระหว่างกันเกี่ยวกับปรัชญาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคสมัยใหม่ที่สำคัญ ๆ ซึ่งการดำเนินเรื่องยังเกี่ยวโยงสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับเด็กผู้หญิงอีกคน คือ ฮิลเด กับพ่อของเธอ
การดำเนินเรื่องที่เป็นไปอย่างเรียบง่ายในช่วงต้น ค่อย ๆ เข้มข้นขึ้นด้วยการดำเนินเรื่องที่สลับซับซ้อนระหว่างโลกของความจริงและเหนือจริง ควบคู่ไปกับบทสนทนาที่ว่าด้วยเรื่องปรัชญาของมนุษย์ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ
.
นิยายเล่มนี้ นำเราไปสู่การตั้งคำถามการมีอยู่ของชีวิต ความจริง และความดีงาม ภายใต้การย่อยแนวคิดปรัชญาของนักคิดคนสำคัญมากมายที่วางชุดระเบียบการเชื่อมโยงไว้ด้วยลำดับเวลาและพัฒนาการของมนุษย์ อาทิ โสคราตีส, เพลโต้, อริสโตเติล, เดส์การ์ต, ล็อค, ค้านท์, เฮเกล, มาร์กซ์, ดาร์วิน, ฟรอยด์, ซาร์ต และนักปรัชญาอื่น ๆ อีกมากมาย

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ อ่านเพื่อทำความเข้าใจปรัชญาความคิดจากอดีตในแต่ละยุคสมัย

การได้อ่าน “โลกของโซฟี” ทำให้ผมนึกไปถึงงานจิตรกรรมฝาผนังปูนเปียกหรือที่เรียกกันว่า Fresco ที่ Vatican ชื่อ “The School of Athens” ที่วาดขึ้นในช่วง คศ.1509-1511 โดยจิตรกรชาวอิตาเลียนชื่อ Raphael


จิตรกรรมฝาผนังปูนเปียกชิ้นเอกของ Raphael นี้เป็นภาพแทนที่จัดวางบุคคลที่เป็นนักปรัชญาจำนวน 21 คนในโลกอดีตที่กำลังศึกษา สนทนา ถกเถียง ร่วมกันในพื้นที่ของอาคารที่แทนความหมายถึงสำนักวิชาความรู้แห่งนครเอเธนส์ในสมัยอารยธรรมกรีกที่ถือเป็นต้นร่างของวิชาความรู้ของโลกตะวันตก

สำหรับผมแล้ว ภาพดังกล่าวทำให้เห็นถึงตัวแทนนักปรัชญาที่มีปฏิสัมพันธ์กันด้วยการศึกษาและสนทนากัน ให้ความหมายว่า การเข้าใจความรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษย์มิอาจอยู่ที่ความศรัทธาในสิ่งอื่นใดนอกจากรักในการเรียนรู้และใฝ่หาปราชญ์ เช่นเดียวกับที่เรามักคุ้นชินกับสุภาษิตไทยที่ว่า “คนบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล…”
การแสวงหาความรู้ในโลกอดีตจึงคือการสนทนาและเปลี่ยนความคิดกัน รวมไปถึงการตั้งคำถาม การถกเถียง และการโต้แย้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ความรู้ทั้งสิ้น แม้ในปัจจุบันก็ตามที

เมื่อย้อนกลับมาถึง “โลกของโซฟี” แล้ว
เมื่อผมได้อ่าน และดำเนินคล้อยตามไปในแต่ละตัวอักษรที่แปลขึ้นในภาคภาษาไทย มนทำให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของความคิดและจินตนาการ
ราวกับว่า กำลังเข้าไปฟังเสียงสนทนากันในภาพ “The School of Athens” ก็ว่าได้


วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

The Legend of 1900 : เมื่อโลกเปลี่ยน ผู้ไม่เปลี่ยน ย่อมอยู่ได้ยาก


โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ


เมื่อโลกเปลี่ยน ผู้ไม่เปลี่ยน ย่อมอยู่ได้ยาก

Charles Darwin เคยเขียนหรือกล่าวในทำนองที่ว่า “สัตว์ที่อยู่รอดได้ ไม่ใช่สัตว์ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่เป็นสัตว์ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองได้ดีต่างหาก”

ผมอ่านข้อความดังกล่าวของ Charles Darwin ที่ไหนก็จำไม่ได้ แต่มันทำให้ผมหวนกลับไปนึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งตัวตนที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง “The Legend of 1900” ซึ่งเชื่อว่า หลายท่านคงเคยได้ชมมาบ้าง

The Legend of 1900 เป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย Giuseppe Tornatore ผู้กำกับชาวอิตาเลียน ออกฉายในปี ค.ศ.1998 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้แปลงมาจากนวนิยายเรื่อง “Novecento” ของ Alessandro Baricco นักเขียนชาวอิตาเลียน

ในภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวละครเอกชื่อ นาย 1900 ซึ่งเขาเกิดบนเรือสำราญขนาดใหญ่ในปี 1900 และได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากกรรมกรผิวสีและรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ บนเรือลำนั้น กาลต่อมาได้พิสูจน์อย่างชัดว่า 1900 มีพรสวรรค์ด้านการเล่นเปียโนในระดับอัจฉริยะ โดยไม่ได้ฝึกฝนเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ใด ๆ จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญของผู้ที่เป็นแขกในเรือลำดังกล่าวตลอดเวลา

1900 มีชีวิตอยู่บนเรือโดยไม่เคยได้ขึ้นฝั่งเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า 1900 มีชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงวัยหนุ่มโดยไม่เคยเหยียบพื้นฝั่งเลย
ถึงอย่างไรก็ตาม ฉากการประลองเปียโนระหว่าง 1900 กับนักเปียโนผิวสีที่เป็นระดับปรมาจารย์ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เขาเริ่มเข้าวัยหนุ่ม การประลองครั้งนั้นสร้างความตื่นตาตื่นใจกับผู้ชมบนเรือเป็นอย่างมาก โดย 1900 ชนะการประลองนั้นด้วยทักษะเฉพาะตัวที่ไร้กระบวนแบบและโดดเด่นกว่า
ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นตำนาน
.
แต่ทว่าในอีกมุมหนึ่ง 1900 เป็นคนที่โดดเดี่ยวที่สุดในเรือลำนั้น แม้เขาจะให้เสียงบรรเลงเพื่อความบันเทิงกับชนทุกชั้นบนเรือ แต่ในใจของเขากลับเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวอย่างมาก
การไม่ยอมขึ้นฝั่ง ทำให้เขาเห็นโลกเพียงแค่บนเรือ เขาอาจเป็นหนึ่งบนเรือลำนั้น อต่อาจจะไม่ใช่บนฝั่งที่มีผู้คนมากมาย

สุดท้ายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาจึงยอมตายไปกับเรือ มากกว่าจะเลือกขึ้นฝั่ง เขาเลือกอยู่กับอดีตที่รุ่งเรือง ในสภาวะปัจจุบันอันล่มสลาย
เรือลำดังกล่าวจมลงไปด้วยการระเบิด พร้อม ๆ กับการหายไปของ 1900 เรื่องของเขาจึงเป็นเพียงตำนาน

ถึงตรงนี้ อาจทำให้คิดไปถึงได้ว่า การไม่ขึ้นฝั่งของ 1900 ด้านหนึ่งคือการรักษาตัวตนและความสำเร็จในแบบเดิมในโลกของเขาเอง แต่ด้านหนึ่งมันคือความกลัวการเปลี่ยนแปลงที่เขาไม่กล้าเผชิญ
เมื่อใดก็ตามที่เรายึดอยู่กับโลกใบเล็ก ๆ และความสำเร็จมากจนเกินไป มันกลายเป็นว่าเรายึดถืออดีตเป็นสรณะของปัจจุบัน

1900 เป็นคนเก่งมากในด้านเปียโน แต่เมื่อเขาคิดว่าเขาไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวตน หรือปรับประยุกต์กับยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านได้ ความตายจึงเป็นทางเลือกที่เขายอมรับ แม้จะหดหู่เพียงใดก็ตาม

นั่นก็คงจะคล้ายกับที่ Darwin เคยเขียนหรือกล่าวในทำนองข้างต้นเอาไว้ว่า “สัตว์ที่อยู่รอดได้ ไม่ใช่สัตว์ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่เป็นสัตว์ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองได้ดีต่างหาก”

ป.ล. ตัวอย่างฉากประลองการเล่นเปียโนตาม link
https://www.youtube.com/watch?v=0UPftoWxFnY&feature=youtu.be&fbclid=IwAR0fzeA5Biah0XFuaeauP6MmCF_S7fUnwI2yLi_oTPhYN7tBjK7iB2J1YkA

คิดต่อจากภาพยนตร์เรื่อง Gandhi

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ



สำหรับผมแล้ว ในบรรดาบุคคลสำคัญของโลกนั้น ผมว่า มหาตมะ คานธี ถือว่ามีลักษณะภายนอก (ภาพลักษณ์) และชีวประวัติที่น่าสนใจที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20

นานมากแล้วที่ผมได้ชมภาพยนตร์ชีวประวัติของมหาตมะ คานธี ที่มีชื่อเรื่องว่า Gandhi ซึ่งออกฉายปี 1982 และได้รางวัลออสการ์ถึง 8 รางวัล ก่อนจะแปลงออกมาเป็น DVD ในเวลาต่อมา แล้วผมก็ได้ซื้อและมาชมผ่านเครื่องเล่นและฉายบนหน้าจอโทรทัศน์

ตามเนื้อเรื่องแล้วก็เหมือนกับภาพยนตร์ชีวประวัติทั่วไปที่แสดงถึงชีวิตของตัวละคร มีมุมกล้องที่น่าสนใจ และแทรกอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครลงไป จึงต่างภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติอยู่แล้ว ความตื่นตะลึงเมื่อครั้งแรกได้ชมนั้น มันอยู่ตรงที่ผมค่อนข้างสนใจชีวประวัติของคานธีมาตั้งแต่เด็ก โดยไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วเขาคือใคร ทำอะไร รู้แต่ว่ามีบทบาททางการเมืองและสังคมจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ประเทศอินเดียได้รีบอิสรภาพจากอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษอันเกรียงไกร การมีตัวละครคานธีปรากฏออกมาจึงทำให้เหมือนว่าได้พบกับบุคคลตัวอย่างที่ออกมาโลดแล่นได้อย่างน่าทึ่ง ผมเองค่อนข้างยอมรับว่า ลักษณะหน้าตา ร่างกาย และการแต่งกายของคานธี มีความโดดเด่นอย่างมากที่สุดคนหนึ่งในเวทีของบุคคลสำคัญของโลก

คานธีได้รับการกล่าวขานและยกย่องจากคนทั่วโลกเรื่องการต่อสู้โดยไม่สู้ด้วยความรุนแรง หรือที่รู้จักกันว่า “อหิงสา” ซึ่งคนปัจจุบันเองอาจจะเข้าใจได้ยากว่า ในยุคของเขานั้น เขาเปลี่ยนแปลงมหาอำนาจอย่างอังกฤษให้ปลดปล่อยประเทศอินเดียอันมีพื้นที่มหาศาลให้เป็นอิสรภาพได้อย่างไร โดยไม่ได้ใช้กำลังอาวุธ

คงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก หากมองว่าคานธีไม่ใช่นีกการเมือง ไม่ใช่ทหาร ไม่ใช้ชนชั้นปกครอง ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ ไม่ใช่นักธุรกิจ เป็นคนธรรมดา นุ่งห่มชุดด้วยผ้าสีขาว/ สีอ่อน แบบการห่มของอินเดียโบราณ หลายครั้งเปลือยท่อนบน ไม่มีทรัพย์สินอะไรในร่างกายที่ชัดเจนไปกว่าแว่นตาวงกลมสองคู่คนใบหน้าที่วางทาบอยู่บนจมูกที่งุ้มแหลม และอาจมีไม้พลองยาวสำหรับค้ำยันในเวลาที่เดิน
เราคงคิดว่าเป็นไปได้อย่างไร ที่เขาชักชวนให้คนอินเดียมาปั่นฝ้ายทอผ้าเองเพื่อไม่ต้องไปซื้อเสื้ผ้าจากชาวอังกฤษมาใส่ การเดินขบวนอันยาวไกลกับชาวบ้านนับพันนับหมื่นเพื่อไปเก็บเกลือ และการปราศัยผู้คนให้ยึดถือในอหิงสา ซึ่งสิ่งเหล่านี้แทบไม่เกี่ยวข้องกับกองกำลังหรืออาวุธใด ๆ เลย หากเทียบกับกองกำลังและอำนาจของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ

ชายผู้แทบไม่มีอะไรเลย แต่คนอินเดียหลายร้อยพันล้านกลับรักเขาอย่างที่สุด
ชายผู้ไม่เป็นอะไรมากไปกว่าจิตวิญญาณของชาติที่ชาวตะวันตกในยุคสมัยของเขาก็ยังไม่เข้าใจว่า เหตุใดอิทธิพลของคานธีจึงเข้าไปสู่ในจิตใจของชาวอินเดียจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์โลกไปตลอดกาล

เราไม่อาจเรียกคานธีว่าเป็นนักปราชญ์ เช่นเดียวกันว่าเขาไม่ใช่นักวิชาการ ชนชั้นปกครองก็ยิ่งไม่ใช่ นักรบและนักการเมืองก็มิอาจใช่เช่นกัน
แต่คานธีคือคานธี ที่สถิตในใจคนทั่วโลก

หลายครั้งที่ความรุนแรงเกิดขึ้น หลายครั้งที่โลกมีปัญหา มักมีผู้ยกคำพูดหรือข้อเขียนของเขาขึ้นมาเชิดชูอยู่เสมอ

... ผมจึงรักภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะ ผมชื่นชอบในคานธีเป็นพิเศษ
... สำหรับผมแล้ว มหาตมะ คานธี คือ บุคคลสำคัญของโลกที่ในอนาคต ผู้คนอาจจะไม่เชื่อก็ได้ว่า มีบุคคลเช่นนี้อยู่จริงที่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา



วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

เพิ่งมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ “ฮาวทูทิ้ง…ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ”

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ



ที่มาภาพ: https://thestandard.co/happy-old-year-4/


ผมเพิ่งมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ “ฮาวทูทิ้ง…ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ”
ก็ทำให้คิด ๆ อะไรต่อเนื่อง

ผมเป็นคนที่ทิ้งอะไร ๆ ได้ยากมานาน เพราะมีความเชื่อว่าทุกวัตถุสิ่งของล้วนบรรจุประวัติศาสตร์และความทรงจำของเราและผู้อื่นอยู่เสมอ

เมื่อผมได้ชมภาพยนตร์เรื่อง “ฮาวทูทิ้ง…ฯ” ก็พบว่าความคิดของผมไม่น่าจะใช่แค่คิดไปคนเดียว แต่ยังมีผู้คนอีกมากมายคิดเช่นนั้น (หรือว่าไม่จริง?)
ความรู้สึกของตัวละครในภาพยนตร์ที่สื่อออกมานั้น ทำให้คิดต่อได้ว่า การ “ทิ้ง” นั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปรอย่างไรบ้าง ทิ้งแล้วเหลืออะไร อะไรคือสิ่งที่ยังคงอยู่ อะไรคือความเปลี่ยนแปลง เราสูญเสียอะไรไป และเราได้อะไรกลับมาบ้าง

ในบางครั้งการ “คืน” ของบางสิ่ง หรือความรู้สึกบางอย่าง กับเจ้าของเดิม อาจนำไปสู่ความหมายเดียวกันกับคำว่า “ทิ้ง” เมื่อการคืนของคือการทิ้งของ แล้วอะไรเล่า คือสิ่งที่คืนไม่ได้
ใช่ครับ คืนไม่ได้ คือ “เวลา” และ “ความทรงจำ”

เวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่เรียกกลับคืนไม่ได้ เช่นเดียวกับความทรงจำที่สลัดอย่างไรก็ไม่หายไปจากจิตใต้สำนึกของเรา

ภาพยนตร์ไม่ได้ชี้นำให้เราต้องคิดแบบในตัวละครเสมอไป การดำเนินไปของตัวละครจึงเป็นไปอย่างกลาง ๆ และมีผู้ชมเป็นเพียงผู้เฝ้าดูไปพร้อม ๆ กับความรู้สึกที่มีต่อตัวละคร มากกว่าให้เราเข้าไปร่วมกับตัวละครนั้น ๆ
แต่การเฝ้าดูตัวละครดำเนินไปและมีจุดสะกิดความรู้สึกอยู่หลายครั้งก็อาจทำให้เรารู้สึกจุกขึ้นมาได้ นั่นเป็นเพราะ การดำเนินเรื่องที่ไม่ได้ปูพื้นฐานของเรื่องราวตัวละครแต่ละตัวอย่างเปิดเผย แต่การเปิดเผยเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวละคร ขึ้นอยู่กับวัตถุที่ถูกคืน หรือนัยหนึ่งก็หมายถึงการทิ้งนั่นเอง

ภาพของความทรงจำกับถ้อยความที่ออกมาจากตัวละครประกอบทุกตัวจึงคอยกระแทกไปในความรู้สึกของเราเสมอ และหวนให้เราทบทวนขบคิดกับตัวเองถึงเวลาและความทรงจำของเราที่ผ่านมาในแต่ละวัน
เมื่อใดก็ตามที่เราเป็นผู้ที่ต้องทิ้งสิ่งใด ในด้านหนึ่งเราเองก็จะถูกทิ้งจากสิ่งนั้น ๆ เสมอ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ คือ เมื่อเราทิ้งสิ่งใด เราเองก็เป็นผู้ถูกทิ้งจากสิ่งนั้น

หลายครั้งที่การพยายามทิ้งมิใช่อะไรอื่นมากไปกว่าการ “ลืม” เพื่อจะตอบตัวเองได้ว่า “ฉันได้เกิดใหม่” อีกครั้ง การทิ้งเพื่อลืมจึงหมายการเลือกที่จะคัดสรรบางสิ่งให้คงอยู่และบางสิ่งต้องหายไป (แต่มันไม่เคยหายไปจากความทรงจำที่มีกาลเวลาเป็นผู้สร้าง)

การทิ้งและการถูกทิ้งจึงเป็นสถานะเดียวกัน มันคือสถานะของการศิโรราบกับความเปลี่ยนแปลงโดยตัวเราเองเป็นผู้สร้าง ขณะเดียวกันมันนำพาไปสู่โลกของความโดดเดี่ยวมากขึ้น เมื่อความโดดเดี่ยวเกิดขึ้นจึงอาจนำไปสู่ความพึงพอใจต่อตัวเองมากขึ้น ทว่าความทรงจำจะยังฝังรากอยู่ในจิตใต้สำนึกเราโดยไม่หายไปไหน

สุดท้ายจึงนำไปสู่การ “move on” หรือ “เดินต่อไป” แม้ความทรงจำจะเกาะเกี่ยวกับเราอยู่เสมอ
การเดินต่อไปจึงไม่ได้หมายถึง “การลืม” หากแต่เป็นการยอมรับซึ่งความแปรเปลี่ยนไปของสภาวะทั้งของผู้ทิ้งและสิ่งที่ถูกทิ้ง การเดินต่อไปเทียบเท่ากับการเยียวยาให้สถานการณ์ของชีวิตดีขึ้นในแบบที่มันเป็นไปเอง

บางครั้งการ “ทิ้ง” อย่างไร ไม่เท่ากับการ “เดินต่อไป” อย่างไร
เพราะสุดท้ายการทิ้งอาจทำได้เพียงสิ่งของและสสารต่าง ๆ ในโลก
ทว่าความทรงจำมันยังคงสร้างตัวเองอยู่เสมอในโลกภายในใจของเรา

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

ชายหนุ่ม กับ เพื่อนเก่า

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ
.
กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้…
.
ยังมีชายหนุ่มคนหนึ่ง เขาเพิ่งเลิกกับคนรักของเขาในค่ำคืนที่แสงจันทร์ถูกดูดไปไปกับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยฝุ่นร้าย
เขาไม่ทราบได้ว่าคำคืนอันแสนหดหู่นั้น เกิดขึ้นจากความรู้สึกของตัวเองที่จมดิ่งเข้าสู่รัตติกาลของอารมณ์ หรือเป็นเพราะหวาดผวากับฝุ่นร้ายที่ปกคลุมราตรีให้ปราศจากแสงของดารา
.
น้ำสีอำพันใสกร่าวแกร่งเจิดจรัสในแก้วใบน้อยวาววับกระชับในมือของเขา ขัดกับบรรยากาศที่ชวนหลับไหลของหมู่อาคารสูงที่ไฟสลัว
.
“นี่ก็ดึกแล้วใช่มั๊ย ทำไมคุณไม่หลับเสียละ” เสียงกังวานของเพื่อนสนิทของเขาที่ห่างหายไปนานปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า สะท้อนเงาลงบนน้ำสีกระจ่างวาวในแก้วใบเดิมที่กลั้วด้วยน้ำแข็งสองก้อน
“เพราะเมื่อนอนหลับลง ผมคงมิอาจฝันดีได้ หากคืนนี้ร้อนบัดซบ” เขาตอบเพื่อนผู้หายหน้าไปนานในเงามืด ซุกซ่อนหยาดน้ำตาที่ระเรื่ออยู่บนขอบตาล่างอย่างอ่อนล้า
“ดื่มสักนิด คงไม่เป็นไร แต่ดื่มมากไป ใจคุณก็คงร้อนมากกว่าร่างกายของคุณเอง” เพื่อนผู้แสนดีพูอย่างแผ่วเบา ทว่าให้ความอบอุ่มอย่างบอกไม่ถูก
เขาไม่ได้เอ่ยปากอะไรต่อ เพ่งมองแก้วแวววาวนั้น แล้วยกขึ้นกระดกขึ้นอย่างช้า ๆ เสียงของก้อนน้ำแข็งกระทบกัน เสียงของก้อนน้ำแข็งเคลื่อนในแก้วใส ดังอย่างกังวาล ทว่าเศร้าระทด
เขาค่อย ๆ เอ่ยอย่างเงียบ ๆ “หายไปเสียนาน ทำไมคุณถึงมาตอนนี้”
“ถ้าไม่มาตอนนี้ แล้วให้มาตอนไหน” เพื่อนของเขาตอบสวนออกมาทันทีที่เขาเอ่ยออกไป
“อืม ก็คงใช่ ผมเองไม่ค่อยได้นึกถึงคุณเท่าไรนักก่อนหน้านี้ ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ติดต่อไปเลย” เขาเอ่ยออกมาด้วยความรู้สึกผิดมหันต์
“ไม่เป็นไร ก็ตอนนี้ผมมาแล้ว คุณมีอะไรจะเล่าให้ฟังบ้าง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในช่วงที่เราไม่ได้พบกันเลย” เพื่อนของเขาชวนสนทนาต่อด้วยความใคร่รู้
“ก็มีบ้าง สุข ทุกข์ เฉย ๆ ตามปกติโดยทั่วไป แต่ช่วงนี้ก็หนักหน่อย เรื่องราวมากมาย” เขาเริ่มเปิดใจ
“ผมเข้าใจดีว่าคุณรู้สึกยังไง จะพูดก็ได้ ไม่พูดก็ไม่เป็นไร ขอให้คุณสบายใจ ผมก็สบายใจ แล้วมีอะไรจะเล่าอีกบ้างละ” เพื่อนเขาเริ่มปลอบใจที่แตกสลายของเขาด้วยความรู้สึกเห็นใจ
“เรื่องมันก็มีอยู่ว่า…” เขาเริ่มเล่าเรื่องของเขาเองที่ได้ไปผจญภัยในทะเลแห่งชีวิตและความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความสุขและความทุกข์
.
เขาคุยกับเพื่อนสนิทที่ห่างหายไปนานราวกับว่าโลกทั้งใบมีเพียงพวกเขาสองคน ทั้งยิ้ม หัวเราะ เศร้า และหลั่งน้ำตา
ถ้อยคำที่สนทนากันดำเนินไปพร้อมกับการเติมน้ำอำพันที่ค่อย ๆ พร่องไปทีละแก้ว ๆ จนเขารู้สึกมึนเมาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และผล่อยหลับไปโดยไม่รู้สึกตัว
.
เช้าวันต่อมา
เขาตื่นขึ้นอย่างกระชุ่มกระชวยผิดกับเมื่อคืนที่ดื่มอย่างหนักหน่วงราวกับไม่เคยได้ลิ้มลองสุรานำเข้าจากยุโรปที่มีคนรู้จักได้หยิบยื่นให้เมื่อนานมาแล้ว
เขามองไปรอบ ๆ ห้องอันว่างเปล่าเพื่อหาเพื่อนสนิทของเขาที่หาสไปอย่างไร้ร่องรอย
เขาเริ่มเศร้าและเหงาจับใจที่เพื่อนทิ้งกันไปโดยไม่บอกลา
.
เขาสลัดความรู้สึกนั้นทิ้งไป เพื่อเข้าไปห้องน้ำทำธุระส่วนตัวก่อนออกไปทำงานในเช้าวันนี้
เขาหยิบแปรง บีบหลอดสีฟันที่เปิดค้างไว้ ยาสีฟันสีขาวรสชาติบาดลิ้นค่อย ๆ คลานออกมาจากหลอดอย่างช้า ๆ เอื่อย ๆ เหมือนว่ามันจะขี้เกียจสำหลับวันใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น
เขาเงยหน้าขึ้นมองกระจกในห้องน้ำพร้อม ๆ ไปกับเอาแปรงสีฟันในมือค่อย ๆ เคลื่อนไป ๆ มา ๆ ลงบนฝันสีครีมของเขาอย่างช้า ๆ
แล้วเขาก็ต้องตกใจพร้อมอุทานต่อหน้ากระจกใสในห้องน้ำนั้น
“เอ้ย ผมนึกว่าคุณไปแล้วเสียอีก ขอบคุณที่ยังอยู่ด้วยกันนะ”
.
เขาแปรงฟันด้วยความสุข และยิ้มให้กับเพื่อนที่อยู่ในกระจก
ทั้งคู่ยิ้มตอบให้แก่กัน
.

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

Revived Emotion

Revived Emotion
26-29 January 2020
The Ratchadamnoen Contemporary Art Center, Thailand
text by Suphawan Kanta

     Revived Emotion is an International group exhibition of contemporary art by 37 artists from India, 13 Nepalese artists, and 17 Thai artists. The exhibition shows on the first floor at the Ratchadamnoen Contemporary Art Center, Thailand during the period 26-29 January 2020.

     “This group exhibition aims to promote cultural learning through art and allows people to access to a variety of artistic creations among the environmental differences of society in that country Also, to exchange knowledge of art between Thailand and foreign countries. There are 150 paintings in the exhibition. As for the work from foreign artists like India, they often communicate through their works about the daily life of the artist, personal emotions, a society where they rely on traditions, cultures, and religions that they respect ” Nawat Lertsawaengkit who is the Thai curator of this exhibition told us.However, if walking to see all the works in the exhibition We will find that many artworks are hanging display on the wallpaper. Therefore, we have selected six artists out of all the artists to interview about their arts in this exhibition.


Prakash  Kishore

     The first person, Dr.Prakash Kishore, an internationally renowned artist and the Indian curator of this exhibition drew the attention of all with his stunning artworks in terms of concept and its representation. His works are the outcome of emotions, thoughts, experience, frustrations, and reactions towards the society he lives in. The deep meaning of emotions sometimes takes place in the form of identified forms, abstract and void space, where he finds the agony of life. His works give a strong message about the conditioned life of the woman in today’s scenario. He has done deep research on Mediatic realism which brings down multiple interpretations of a single image creating more dialogues into his works. The treatment of the canvas is very different as the surface has its own importance and intrinsic value for the composition and the concept of the paintings. For him, Art is a phenomenon of mind and heart. The artist is a great admirer of nature and beauty which can be seen through his paintings.

     As Col Suresan ,the artist Indian.His paintings are the reinvention of the moments he spent with nature and people during his career in the army. It depicts the feelings and expressions of a lonely traveler in an unknown world of emotions. He creates a poetic rhythm in his canvas with colors and strokes that unleashes a new era of possibilities.  He also addresses the current social issues, as he believes that art is the most effective mode of communication.


Col Suresan


Srabani Sarkar


     For Srabani Sarkar, She is an Indian female artist. Who is interested in human character, in which she conveyed to unique interest through the paper about the portrait of people. But with the head as a prominent feature of the image. That is to say, the head of the picture is replaced by a bird or nature like a cactus. For the cactus which means two character's people hidden within one person.  Because the cactus is a tree with sharp spines, but at the same time there are flowers. The other image is a bird that wants to give the meaning of human personality as well. Because the image of a bird in art means freedom And she thinks that people need freedom like birds that can fly around without boundaries. They have own happiness and ability to live as they want. Basically, we see just head and face idealism maybe it’s a similar character or some expression of people that why she makes the head in the other character how they are on her artwork. For her technique on unique artwork is to use wood-cut and color print on paper with specialist technic on the texture like stitching on clothes that she saw from her mother and grandmother in childhood. In terms of her initial inspiration regarding the interest in human character come from her childhood. She lives in a giant family, there are lots of people as father, mother,  grandparents, brother, sister, uncle, auntie. They are so different characters every day. They are also too much feeling to each other. That thing she has observed since she was young until she grows up, as always and continue to interest the different character of peoples. Therefore, she demonstrated this notion by drawing and printing.

Chand Kumar Doliya

     Chand Kumar Doliya THE  FOUNDER OF ARTKAFISM ,one of the male artists from India who wanted to tell about the changes in the modern city through his paintings. In t this exhibition, he brought three pieces of work to exhibit. His latest collection talks about the gods of each religion (Shiva, Jesus Christ, and the Buddha )are on the canvas in such a way that they wear masks to prevent exposure to air pollution with the background ‘s detail of shift board. The artist chooses to paint the gods because people in each religion respect God the most. And always believed that God is the creator of everything. So in a difficult situation like the air pollution crisis in the city right now So they want God to protect him as well like the phrase  “God bless you”.Moreover, the shift board in the background can symbolize to our contemporary life. In this case, we are the owners of the mobile phone, computer, or digital life and at this time we’re lost our religion. Another interesting point in his series artworks is the canvas frame style. The artist is influenced by contemporary life especially mobile phones almost the type of iPhone.So he developed his painting canvas with the form of modern technology and it becomes the signature of his art.


     And if talking about the art of Thai artists  Nanpaskorn Lumpakorn and PiraonThey are a new generation of Thai artists who have sent their works to participate in this group exhibition. Normally, Nanpaskorn Lumpakorn likes to do painting work by hand because she feels that it is valuable to the mind. And she is interested in exhibiting with other artists this time as well. Her paintings  The paintings include religious content which comes from Buddhist prayers. She uses interpretive techniques in her artwork such as adjusting styles by comparing that lotus flowers are goodness The obstacles or natural disasters that harm lotus flowers are evil. However, the lotus blossom still blooms and standing up because goodness can overcome evil like the teachings of the  Buddha. And Piraon, the owner of the wall artwork with ceramic materials which is a work that talks about everyday life and taking notes with the artist's picture.


Piraon

     Like the purpose of the exhibition that the artists and curator intended from the beginning.Dr.Prakash Kishore also believes that “ Art is a universal language which connects hearts and is understood by all. A language where everybody participates in a conversation through harmony and rhythm of colors and forms. It is one of the best medium to express our emotions, feeling and love. ‘SUNEHRI CHABIL FOUNDATION, INDIA ’ has always been promoting art in India and other countries as well from time to time. We strongly believe that is the best way to develop. And we always believe in Art for one, Art for all ”