วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความเป็นธงชาติ (โดยสังเขป)

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ ภาควิชาสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

นที อุตฤทธิ์,Red,white and Blue,140 x 170cm. , oil on canvas
 
                ธงชาติถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีบทบาทสำคัญในความเป็นชาติและถือเป็นสัญญะ (Sign)  ที่อยู่ในประเภทสัญลักษณ์ (Symbol) ซึ่งตามที่ชาลส์ แซนเดอร์ เพียร์ซ (Charles Sanders Peirce) นักปรัชญาชาวอเมริกัน (ค.ศ.18391914) ได้ให้คำอธิบายตามทฤษฎีสัญศาสตร์เอาไว้ว่า

         ...สัญลักษณ์ (Symbol) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะ(Signifier) กับความหมายสัญญะ(Signified) ที่แสดงถึงบางสิ่งบางอย่างแต่มันไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งชี้เลย ซึ่งการใช้งานเป็นไปในลักษณะของการถูกกำหนดขึ้นเอง ซึ่งได้รับการยอมรับจนเป็นแบบแผน (Convention)  และต้องมีการเรียนรู้เครื่องหมายเพื่อทำความเข้าใจ หรือเป็นการแสดงถึงการเป็นตัวแทน (representation) ซึ่งสังคมยอมรับความสัมพันธ์นี้...[1]

                ดังนั้นธงชาติจึงถือเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งที่บ่งบอกความมีตัวตนของชาติแต่ละชาติ เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกยอมรับให้เป็นตัวแทนการแสดงถึงความเป็นเอกภาพและเอกราชของขอบเขตที่ถูกสร้างขึ้นอันเรียกกันว่า ประเทศชาติ แต่บางครั้งสัญลักษณ์บางอย่างบนธงชาติก็มีนัยยะที่แสดงออกถึงความเป็นอาณานิคม เช่น กรณีธงชาติออสเตรเลียที่มีมุมซ้ายบนเป็นสัญลักษณ์ธงของสหราชอาณาจักรประกอบอยู่ด้วย เป็นต้น แต่โดยรวมแล้วธงชาติเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อความเข้าใจร่วมกันในการที่จะสื่อถึงความเป็นชาตินั้น ๆ ธงชาติจึงเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญอันจะสะท้อนถึงภูมิหลัง ความคิดและวัฒนธรรมทั้งหมดของชาติหนึ่ง ๆ เอาไว้[2]


                 [1] Semeion,  แนวคิดสัญวิทยา [ออนไลน์],  เข้าถึงเมื่อ 24 สิงหาคม 2554.  เข้าถึงได้จาก http://semeion.multiply.com/journal/item/5/5
                 [2] ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ,  “การประดิษฐ์สร้างประเพณี : ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน,” ใน ความคิดการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2549), 287.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น