06.02.2018_Tokyo Day 1
Bangkok-Tokyo, Ueno, Ameyoko, Akibahara, Asakusa
จากการเดินทางคืนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 กว่าคณะเดินทางของกลุ่มนิสิต ป.เอก
ศิลปกรรม ม.บูรพา ของพวกเราจะเดินทางจากดอนเมือง กรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะสู่กรุงโตเกียวก็ราวๆ
11 โมงกว่า
พวกเราเช็คอินโรงแรมแถบอูเอโนะ
(Ueno) กันเสร็จก็เดินท่องกันในตลาดอะเมโยโก (Ameyoko) ที่มีสินค้ามากมายราวกับจตุจักรแห่งอูเอโนะ
หลังจากนั้นจึงลากเท้าต่อไปยังย่านอากิฮาบาระ
(Akihabara)
ย่านสำคัญของเทคโนโลยีและแหล่งรวมสิ่งบันเทิงต่างๆ อยู่พอสมควร ที่นี่มีการ์ตูน มีเกม
และสิ่งต่างๆ ที่ชาวคอการ์ตูนญี่ปุ่นอาจจะถูกตาต้องใจไม่มากก็น้อย
หลังจากนั้นราวๆ
เกือบสี่โมงเย็น
คณะของพวกเราเดินลากเท้าไปอย่างยาวไกลสู่วัดเซนโซจิหรือวัดอาซากุสะ ระหว่างเส้นทางมีตึกรามบ้านช้องท้องถนนให้เราต้องถ่ายรูปเก็บบรรยากาศไปเรื่อยๆ
กว่าจะถึงวัดเซนโซจิก็เกือบเย็นๆ แล้ว
วัดเซนโซจิหรือวัดอาซากุสะเป็นวัดพุทธแบบมหายานที่มีรูปลักษณ์แบบญี่ปุ่นที่โดดเด่น
มีความสวยงามมาก และมีผู้คนอีกมากมาย
ซึ่งวันนี้เราเพียงแค่เดินถ่ายรูปกันก่อนจะมาลงลึกในวันถัดๆ ไป สุดท้ายของวันเราเดินกลับไปย่านอูเอโนะ
แล้วกินอาหารในช่วงเย็นกัน ก่อนแยกย้ายเจ้าที่พักและเตรียมตัวตะลุยต่อในวันพรุ่งนี้
07.02.2018_Tokyo
Day 2
Tsukiji, the
National Art Center, 21_21 Design
Sight, Mori Art Museum
เช้าวันที่
7 กุมภาฯ นี้ ผมและเพื่อนนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา ออกจากที่พักแถวย่านอูเอโนะ
โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน (sub way) ซึ่งเป็นการคมนาคมที่สะดวกเป็นอย่างมาก
เพราะมีโครงข่ายทั้งเมือง
Tsukiji
Honganji
เช้านี้เราเริ่มกันที่วัดสึกิจิ
ฮอนคันจิ (Tsukiji Honganji) เป็นวัดพุทธ นิกายแบบฉบับญี่ปุ่น
ตัวอาคารภายนอกสร้างขึ้นใหม่ราวปี ค.ศ. 1934 ด้วยหิน
ด้วยรูปแบบอิทธิพลศิลปะอินเดีย
ปัจจุบันวัดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติที่สำคัญ
ออกจากวัดวัดสึกิจิ
ฮอนคันจิ สู่ตลาดปลาทสึกิจิ (Tsukiji) ซึ่งในยามเช้ามีการขายปลาและมีการแล่สดๆ
เพื่อเป็นปลาดิบไปสู่ร้านค้าปลาต่างๆ
ซึ่งคนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวสามารถมาเยี่ยมชมชุมชนตลาดฯ
และจับจ่ายซื้อของสดและของกินได้อย่างเพลิดเพลิน มีชีวิตชีวา
แม้เป็นตลาดแต่กลับมีระเบียบอย่างน่าสนใจ
The National
Art Center
หลังจากนั้น
เราลงรถไฟใต้ดิน 2 ต่อ เพื่อไปย่านรปปงหงิ (Roppongi) เพื่อไปชมงานศิลปะกันที่ The National Art Center โดยใช้เวลาไม่เกิน
40 นาที ก็มาถึงสถานีฯ โดยเพียงแค่เดินทางที่จะขึ้นไปสู่ The National Art
Center ก็เต็มไปด้วยโปสเตอร์ที่แนะนำจัดแสดงงานต่างๆ อย่างหลากหลาย
ซึ่งคิดๆ
แล้วก็ต่างจากประเทศของเราที่ศิลปะมักชื่นชมกันในหมู่คนในวงการมากกว่ามหาชนต่างๆ
แต่สำหรับที่โตเกียวเราสามารถเป็นโปสเตอร์แสดงงานศิลปะได้หลากหลายพื้นที่และมีผู้คนสนใจเสมอ
ที่
The
National Art Center มีสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ที่น่าสนใจมาก มีรูปแบบที่แปลกตาอย่างมาก
ภายในจัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ได้หลายงาน
ในช่วงที่มาชมนี้มีงานนิทรรศการที่น่าสนใจหลายงาน
เช่น 20th DOMANI:
“The Art of Tomorrow” Exhibition และ NAU21 (New
Artist Unit) เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นผลงานร่วมสมัยที่มีหลากหลาย
และจำนวนมาก
ซึ่งไว้สะดวกผมจะมาพิมพ์รายละเอียดผลงานนิทรรศการที่จัดแสดงให้ได้อ่านกันสนุกๆ
อีกครั้งครับ
จาก
The
National Art Center คณะของพวกเราเดินคลำทางไปเรื่อยๆ ตาม Google
map ที่เรรวนไปต่างๆ นานา กว่าจะมาถึง 21_21
Design Sight ซึ่งที่นี่เป็นพื้นที่หอศิลป์ที่แสดงงานศิลปะและงานออกแบบ
แต่นิทรรศการหลักปิด
เราเลยได้ดูนิทรรศการย่อยอีกห้องหนึ่งที่มีงานประติมากรรมและงานที่ใช้สื่อต่างๆ
ในการนำเสนอสาระที่สัมพันธ์กับเรื่องราวที่ศิลปินมีปฏิสัมพันธ์ผู้ดู ผู้ดูงานสามารถร่วมกิจกรรมโดยการวาดรูปอิสระตาม
concept ของศิลปิน และส่งให้ศิลปินผ่านหอศิลป์
โดยศิลปินจะนำงานที่คนดูร่วมสนุก ไปใช้ในการสรางสรรค์ต่อไป ก็นับว่าพวกเราก็สนุกๆ
กันไปตามกัน
หลังจากนั้นเราเดินย่ำตามทางเท้าไปเรื่อยๆ
ด้วยระยะทางที่พอจะเหนื่อยเล็กๆ จนมาถึง Mori Art
Museum หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ ซึ่งถือเป็นจุดพีคสำคัญของวันนี้เช่นกัน
ที่
Mori Art Museum เราใช้บัตรนิสิตแลกบัตรค่าเข้าด้วยราคาพิเศษ
ซึ่งพื้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่นี่อยู่ด้านบนของตึกสูงที่มีขนาดใหญ่
โดยลานด้านล่างของตึกมีผลงานประติมากรรมแมงมุมยักษ์ของหลุยส์ บูร์ชัวส์ (Louise
Bourgeois) ที่จัดวางไว้อย่างอลังการเป็น Landmark ที่สำคัญ
ส่วนด้านในของ
Mori
Art Museum เป็นผลงานรวมชุดของ Leandro Erlich ในชื่อนิทรรศการ “Seeing and Believing” โดยผลงานของเขานำเสนอด้วยผลงานแบบ
Installation Art ที่มีกลิ่นอายของศิลปะแบบ Conceptual
และ Interactive ที่ผู้ดูงานสามารถมีส่วนร่วมกับผลงานได้ทุกชิ้น
ซึ่งศิลปินใช้ลักษณะของวัตถุและการสะท้อนของกระจกเงามาสร้างสรรค์พื้นที่ทางศิลปะที่ให้คนดูร่วมเล่นกับผลงาน
และเท่าที่เห็นก็มีผู้เข้ามาดูผลงานนิทรรศการนี้อย่างล้นหลามเนื่องแน่น
ซึ่งแสดงให้เห็นได้ถึงความใส่ใจในงานศิลปะของชาวญี่ปุ่นได้ในระดับดี
อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าบ้านเรามากๆ
ในสักส่วนถัดไปของตึก
Mori
คณะของพวกเราเดินไปยังจุดชมวิวมุมสูงที่เห็นกรุงโตเกียวและอ่าวโตเกียวได้อย่างถนัดตา
แม้ในยามเย็นย่ำที่แสงค่อยๆ ละขอบฟ้าวันนี้ก็ตาม
แต่เสียงไฟของมหานครที่มีผู้คนอาศัยอยู่หลายสิบล้านคนค่อยๆ
ส่องสว่างรอคอยการมาของราตรี โดยมีหอคอยโตเกียวเป็น landmark ที่แสดงถึงภาพลักษณ์ของภูมิทัศน์ที่สวยไปอีกแบบที่ไม่มีใครเสมอเหมือน
แถมในอีกบางมุมยังเห็นภูเขาอยู่ลิบๆ
ซึ่งพวกเราไม่ทราบได้ว่าสิ่งที่เห็นคือภูเขาไฟฟูจิยามารึไม่
แต่ภูมิทัศน์ยามอัสดงครานี้เราดื่มด่ำกับสภาพของโตเกียวอย่างเต็มอิ่มท่ามกลางบรรยากาศที่หนาวเย็น
ก่อนที่จะเดินทางกลับที่พักและกินอาหารตามอัธยาศัยและกระเป๋าเงินของแต่ละคน
และนั่นเป็นฉากสุดท้ายของวันที่
2 ในโตเกียวของคณะเราฯ
08.02.2018_Tokyo
Day 3
The National
Museum of Modern Art, Craft Gallery, Ginza
เช้าวันที่
8 กุมภาฯ นี้ ผมและเพื่อนนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา ออกจากที่พักแถวย่านอุเอโนะ
โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน (sub way) โดยมีเป้าหมายที่
The National Museum of Modern Art, Tokyo พวกเราใช้เวลาเดินทางสักพักมาถึงสถานีที่ขึ้นมาเป็นเขตของพระราชวังที่โตเกียว
หรือ Imperial Palace แล้วเดินเลาะตามคูพระราชวังไปไม่ไกลมากนักจึงเห็นตึกรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวยาว
ที่นั่นคือเป้าหมายที่พวกเรากำลังไป
The National
Museum of Modern Art, Tokyo
The
National Museum of Modern Art, Tokyo เป็นพื้นที่ทางศิลปะที่มีหลายส่วน
โดยแบ่งเป็น Art Museum, Craft Gallery และ National
Film Center ซึ่งคณะของพวกเราตกลงที่จะชมใน 2 ส่วนแรก
เพราะมีความสัมพันธ์กับความสนใจของแต่ละคนมากกว่า
Art
Museum มีนิทรรศการที่สำคัญ 2 Exhibition คือ Kumagai
Morikazu : The Joy of Life และ MOMAT Collection
ตั้งแต่เริ่มเข้าในส่วนแรก
เราได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ว่าให้ใช้ดินสอจดเท่านั้นและห้ามถ่ายภาพ ซึ่งผมคิดเอาเองว่าน่าจะเป็น
Collection
ของนักสะสมที่หลากหลายและไม่ต้องการให้บันทึกภาพที่อาจจะสัมพันธ์กับด้านลิขสิทธิ์
แต่มีสูจิบัตรขายใน Art Shop
Kumagai
Morikazu: The Joy of Life
Kumagai
Morikazu: The Joy of Life เป็นการรวมผลงานจิตรกรรมของศิลปินเดี่ยวนาม
Kumagai Morikazu ซึ่งเป็นศิลปินคนสำคัญของรอยต่อในสมัยใหม่ของวงการศิลปะญี่ปุ่น
ลักษณะเป็น Retrospective Exhibition ที่นำผลงานจิตรกรรมทั้งชีวิตของ
Kumagai มาจัดแสดง
Kumagai
เริ่มเรียนศิลปะตามหลักวิชา Academic Art โดยสร้างสรรค์เป็นภาพหุ่นนิ่ง
ภาพคนเหมือน และทิวทัศน์ ต่อมาเขาเริ่มที่จะคลี่คลายรูปแบบผลงานเป็นลักษณะของ Impressionism,
Expressionism, Fauvism, Cubism และ Abstract Art โดยมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านรูปลักษณ์เฉพาะที่เล่นกับพื้นที่ว่างในงานจิตรกรรม
ซึ่งนิทรรศการนี้ทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของศิลปินระดับต้นแบบของญี่ปุ่นที่น่าทึ่ง
เสียดายที่ไม่สามารถถ่ายภาพมาได้ ภาพบางภาพจึงต้องหยิบยืม Internet
มาประกอบครับ
ที่นี่ยังมีส่วนของการจัดแสดงผลงานของศิลปินระดับ
Master
ของโลกในยุค Modern ด้วย ได้แก่ผลงานของ Paul
Cézanne, Henri Émile Benoît Matisse, Oskar Kokoschka, Auguste Rodin และ Yayoi Kusama
MOMAT
Collection
สำหรับส่วนนิทรรศการ
MOMAT
Collection เป็นการนำ collection หรืองานสะสมของMuseumบางส่วนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชม
โดยเป็นการนำผลงานศิลปะสมัยใหม่ญี่ปุ่นในรูปแบบต่างๆ
มานำเสนอให้ได้ชมกันอย่างตื่นตาตื่นใจ
ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นล้วนมีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่นสมัยใหม่อย่างมาก
ผลงานที่จัดแสดงแบ่งเป็น
collection
ต่างๆ จากเก่ามาใหม่ ทำให้ผู้ชมนิทรรศการสามารถเรียงร้อยประวัติศาสตร์ของชาติกับผลงานศิลปะนั้นๆ
ที่ผ่านกาลเวลามาแต่ละห้วงยุคสมัย
ที่น่าทึ่งคือสามารถเก็บผลงานแต่ละชิ้นหรือมีการบูรณะให้คงสภาพอย่างสมบูรณ์ได้อย่างเหลือเชื่อ
ยังไม่นับกีบการจัดแสงไฟและพื้นที่ให้ดูผลงานได้อย่างมีอรรถรส
ถ้าบ้านเมืองไทยของเราใส่ใจแบบนี้อย่างเป็นระบบทั้งหมดบ้าง
ผมว่าน่าจะทำให้นิทรรศการต่างๆ เกิดความน่าสนใจกับมหาชนอยู่ไม่น้อยทีเดียว
Craft
Gallery
ในส่วนของ
Craft
Gallery เป็นการจัดนิทรรศการ Cherishing Nature:
Masterpieces of Japanese Modern Crafts from the Museum Collection ซึ่งจัดแสดงผลงานเครื่องเคลือบหรือ ceramic และงานแก้วที่สวยงามมากๆ
ที่นี่เป็นพื้นที่จัดแสดงที่อยู่ในตึกเก่าที่มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีสีแดงเป็นหลัก
ซึ่งทำให้เราเห็นได้ว่าอิทธิพลของศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาที่โตเกียวสมัยใหม่อย่างชัดเจน
ภายในจัดนิทรรศการที่ขับเน้นให้ผลงานดูน่าสนใจ
แม้พวกเราจะไม่ได้ให้เวลาที่นี่มากนัก เพราะอาจจะมีจำนวนผลงานที่น้อยกว่า Art
Museum แต่ก็ไม่นึกเสียดายกับเงินที่จ่ายไปแม้แต่น้อยเลย
สำหรับคอศิลปะแล้วควรมา
The
National Museum of Modern Art, Tokyo มากๆครับ ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
แต่สำหรับพวกเราแล้วนับว่าเต็มอิ่นกันเลยทีเดียวครับสำหรับวันนี้ที่ตะลุยทั้งวันกันเกือบ
6 ชั่วโมง
Ginza
Ginza
คณะของพวกเราปิดท้ายวันนี้ด้วยการนั่งรถไฟใต้ดินไปสู่ย่าน
Ginza
แหล่ง shopping อันมีชื่อเสียงของโตเกียว
หลายๆ
คนที่อาจจะชอบของแบรนด์เนมติดยี่ห้อที่นี่นับว่าต้องมาควักกระเป๋าเงินกันบ้างไม่มากก็น้อย
ที่นี่เราจะเห็นตึกสูงมากมายที่โผล่ขึ้นราวกับป่าคอนกรีตก็มิปาน แต่ละตรอกซอกซอยเต็มไปด้วยตึกสี่เหลี่ยมสูงที่อัดแน่นไปด้วยหน้าที่ต่างๆ
ทั้งโรงแรมที่พัก office และแหล่ง shopping
ต่างๆ ที่มีให้เลือกสรรกันไม่รู้จบ
คณะของพวกเราแยกย้ายกันที่นี่เพื่อเป็นช่วงเวลาตามอัธยาศัย
ใครอยากซื้อก็ซื้อ ใครอยากเดินก็เดิน ใครอยากกินก็กิน
ตามรสนิยมและเป้าหมายของแต่ละคน
ก่อนจะแยกย้ายกลับที่พักและพักผ่อนเพื่อเก็บแรงไว้ตะลุย
Museumใหญ่ในวันพรุ่งนี้
09.02.2018_Tokyo
Day 4
Tokyo
National Museum
เช้าวันที
9 กุมภาฯ นี้ ผมและเพื่อนนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา
ออกจากที่พักแถวย่านอูเอโนะโดยมีปลายทางที่ Tokyo National
Museum หรือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักนัก
ใช้เวลาเดินราว 30 นาทีเท่านั้น
เมื่อเรามาถึง
จึงได้รู้ว่าที่นี่คือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของกรุงโตเกียว
เป็นที่เก็บรักษาศิลปะวัตถุที่สำคัญของชาติไว้นับหมื่อนแสนชิ้น นอกจากนี้ยังมี collection
ศิลปะวัตถุคต่างๆ
ที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมาให้ชมอย่างอิ่มตาอิ่มใจ
Echoes of a
Masterpiece: The Lineage of Beauty in Japanese Art
เป็นนิทรรศการศิลปกรรมที่จัดเพื่อฉลองครบรอบ
130 ปีของ KOKKA และครบรอบ 140 ปีของ Asahi
Shimbun Echoes จากงานชิ้นเอกในความงามในศิลปะญี่ปุ่น นิทรรศการนี้จัดแสดงผลงานศิลปวัตถุในประเภทต่างๆ
โดยแบ่งประเภทและยุคสมัยได้อย่างน่าสนใจ
ทางผู้จัดติดตั้งผลงานที่สัมพันธ์กับพื้นที่ในการนำเสนอได้อย่างงดงาม
พวกเราในฐานะผู้เข้าชมจึงสัมผัสได้ถึงความงามที่ปรากฏตามร่องรอยของวัตถุทางวัฒนธรรมที่ส่งผ่านมาถึงปัจจุบัน
เป็นการสัมผัสวามงามและคุณค่าผ่านกาลเวลาและทำให้เราตระหนักถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศญี่ปุ่นได้อย่างไม่ยาก
ผมเชื่อว่าทุกคนที่ได้เยี่ยมชมนิทรรศการนี้ไม่น้อยได้สาระทั้งทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นในยุคเก่าที่ครบครันในห้วงเวลาต่างๆ
ผู้ชมได้เห็นร่องรอยของอารยธรรมที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง
ซึ่งแม้ญี่ปุ่นจะเป็นเพียงประเทศที่มีเกาะและตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่ก็ตาม
แต่นั่นเป็นข้อดีที่ทำให้วัตถุทางวัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงหลงเหลืออยู่มาก
และนำมาจัดแสดงสู่สายตาแก่พวกเราและอนุชนรุ่นหลังให้เกิดการตระหนึกถึงคุณค่าของมนุษย์ชาติ
โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ
Japanese
Archaeology: History Unearthed
ในชั้น
1 ของอาคารใหญ่ด้านขวาเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ Japanese
Archaeology: History Unearthed
ซึ่งเป็นนิทรรศการที่จัดแสดงโบราณวัตถุอันมีค่ามากมายที่เก่าแก่นับพันปี
อันแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้อย่างน่าสนใจ
Treasures
from Ninnaji Temple and Omuro
นิทรรศการนี้เป็นการนำของมีค่าของวัด
Ninnaji
มาจัดแสดง โดยวัดจินโจจิเป็นอารามหลักของสาขา Omuro ของนิกาย Shingon ก่อตั้งขึ้นด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าของของจักรพรรดิโคโกะในปี
ค.ศ. 886 (Ninna 2) และเสร็จสมบูรณ์ภายใต้รัชสมัยจักรพรรดิ Uda
ในปี ค.ศ. 888 (Ninna 4)
หลังจากนั้นพระจักรพรรดิต่อไปถือเป็นสาวกของพระอารามแห่งนี้
วัดนี้ได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกซึ่งเป็นหนึ่งใน
"อนุสรณ์สถานโบราณสถานของเมืองเกียวโต"
นิทรรศการนี้มีสมบัติของวัด
Ninnaji
พร้อมกับประติมากรรมพระพุทธรูปและสิ่งประดิษฐ์ล้ำค่าอื่น ๆ
ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดของสาขา Omuro โดยผู้ดูได้สัมผัสความงามที่ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น
ซึ่งมีการจัดแสดงด้วยแสงและพื้นที่ๆ สวยงาม เป็นที่น่าสนใจของผู้คน
โดยวันที่เราไปดูนี้มีผู้คนทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างชาติมาดูผลงานอย่างล้นหลามไม่น่าเชื่อ
ต่างกับบ้านเราลิบลับที่คนไทยน้อยคนจะใส่ใจในวัตถุล้ำค่าของบ้านเราเอง
คนไทยน่าเอาเยี่ยงอย่างการให้ความสำคัญกับศิลปะและวัฒนธรรมของเราให้มากกว่าที่เป็นอยู่มากๆ
เลยครับ
อันนี้ผมคิดเองนะ…
Roads of
Arabia: Archaeological Treasures of Saudi Arabia
นิทรรศการ
Roads
of Arabia: Archaeological Treasures of Saudi Arabia จัดแสดงวัตถุล้ำค่าสมัยโบราณคายสมุทรอาหรับ
ซึ่งคาบสมุทรอาหรับเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทำหน้าที่เป็นทางแยกของประชาชนที่หลากหลายอารยธรรม
นิทรรศการครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นจัดแสดงสมบัติจากราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์และความเป็นไปทางวัฒนธรรม
มีการจัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่ากว่า 400
ชิ้นซึ่งรวมถึงเครื่องมือหินที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียย้อนหลังไปกว่าหนึ่งล้านปี
อารยธรรมมนุษย์ยุคเหล็กที่สร้างขึ้นในทะเลทรายราว 5,000 ปีที่ผ่านมา
การขุดค้นสิ่งประดิษฐ์จากเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองของยุค กรีก Hellenistic
และอาณาจักรโรมันทีทได้ ร่องรอยของประตูในศตวรรษที่ 17 จากเมือง Ka'ba
ในเมืองเมกกะซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม
และสมบัติของกษัตริย์อับดุลซาซิซ กษัตริย์แห่งแรกของซาอุดีอาระเบีย
ทั้งหมดนี้ถือเป็นนิทรรศการที่สำคัญที่ชาวญี่ปุ่นและผู้เข้าชมจะได้สัมผัสกับอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกผ่านร่องรอยจากวัตถุอันทรงคุณค่าของมนุษยชาติ
Asian Art
Gallery: Toyokan
ในส่วนของอาคาร
Asian
Art Gallery: Toyokan มีศิลปะวัตถุและสิ่งประดิษฐ์จากภูมิภาคต่างๆ ของเอเชียมาจัดแสดงจากอารยธรรมจีน
เกาหลี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง อินเดีย และอียิปต์
ณ
ที่นี่พวกเราได้ชมมัมมี่และหีบศพสมัยอียิปต์ของจริง
ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เราได้ชมกัน
แต่สมหรับผมแล้วการได้ชมพระพุทธรูปแบบคันธารราฐซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยแรกสร้างในโลกถือเป็นของขวัญในวันนี้ไม่น้อย
เพราะผมมีรสนิยมส่วนตัวที่ชื่นชมในพระพุทธรูปแบบนี้
ซึ่งเป็นประติมากรรมที่แสดงรอยต่อระหว่างศิลปะแบบเอเลนนิสติกกับคติพุทธศาสนาเมื่อราวพันกว่าปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่สวยงามมีคุณค่าอันประเมินไม่ได้อีกนับหลายร้อยชิ้น
อันเป็นเครื่องยืนยันว่ามนุษยชาติของเรามีอารยธรรมเป็นอย่างไรบ้าง
ทำให้เชื่อมร้อยความรู้ต่างๆ
ให้เราเห็นภาพรวมของอารยธรรมโลกที่มีความสัมพันธ์ต่อกันผ่านร่องรอยของวัตถุทางประวัติศาสตร์
10.02.2018_Tokyo
Day 5
Tokyo
Metropolitan Art Museum, Ueno, Ameyoko
เช้าวันที
10 กุมภาฯ นี้ ผมและเพื่อนนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา
ออกจากที่พักแถวย่านอูเอโนะโดยมีปลายทางที่ Tokyo Metropolitan
Art Museum ที่อยู่ภายในสวนอูเอโนะ ใกล้กับกับ Tokyo
National Museum และไม่ไกลจากที่พัก เราจึงใช้เวลาเดินไปไม่นานนัก
Tokyo
Metropolitan Art Museum
สำหรับนิทรรศการหลักของที่นี่ในช่วงเวลานี้คือ
Brueghel:
150 Years of an Artistic Dynasty ซึ่งเป็นการจัดแสดงงานจิตรกรรมกว่า
100 ชิ้นของที่สร้างขึ้นโดยตระกูล Brueghel ซึ่งเป็นรูปแบบผลงานจิตรกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
นับว่าโชคดีมากๆ ที่ผมและเพื่อนๆ ได้มาชมผลงานจริงที่นี่
ไม่เช่นนั้นต้องไปดูตามพิพิธภัณฑ์ในประเทศตะวันตก โดยใช้เงินเป็นจำนวนมากแน่ๆ
Brueghels ถือเป็นสกุลช่างจิตรกรเฟรมมิชในระบบครอบครัวที่มีความรุ่งเรืองในยุค Renaissance
ราวศตวรรษที่ 16 และ 17
โดยถือว่าเป็นสกุลช่างที่มีอิทธิพลทางศิลปะมากที่สุกในยุทธจักรงานศิลป์ในห้วงสมัยนั้น
โดย
Pieter
Bruegel (ผู้พ่อ) สร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่มุ่งมองความเป็นจริงในเชิงวัตถุและแสดงให้เห็นถึงคนธรรมดาที่ทำงานและละเล่นกิจกรรมต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน
พลังของการสร้างสรรค์ศิลปะของเขาส่งผ่านไปยังลูหลานหลายชั่วคนจนเกิดเป็นรูปแบบงานจิตรกรรมสกุลช่าง
“Brueghel” ที่มีขื่อเสียงโด่งดัง
ลูกชายคนแรกของ
Pieter
Bruegel (ผู้พ่อ) คือ Pieter the Younger ได้สร้างจิตรกรรมตามแบบผลงานของบิดาของและลูกชายคนที่สองของเขา
คือ Jan the Elder สืบทอดและพัฒนาความสนใจของบิดาในรูปลักษณ์ของธรรมชาติและสร้างผลงานชิ้นเอกมากมาย
และยังมีลูกหลานของ Jan the Elder - Jan the Younger คือ Ambrosius
และ Abraham ผู้ดำเนินตามรูปแบบการวาดภาพของครอบครัวและตั้งชื่อว่า
"Brueghel" อันเป็นสกุลช่างศิลปะที่โด่งดังเป็นอย่างมาก
โดยนิทรรศการ
Brueghel:
150 Years of an Artistic Dynasty จัดแสดงผลงานอันมีค่ากว่า
100 ชิ้นซึ่งส่วนใหญ่มาจาก Private Collection โดยรวบรวมมานำเสนอให้มหาชนได้ชมผลงานอันทรงคุณค่าที่ประเมินค่าไม่ได้อย่างจุใจ
ซึ่งถูกตาถูกใจผมเป็นอย่างมาก
Toyo
Institute of Art and Design Graduation Work Exhibition
ชั้นล่างของอาคารหลักของ
Tokyo
Metropolitan Art Museumเป็นนิทรรศการผลงานศิลปะและงานออกแบบของนักศึกษา
Toyo Institute of Art and Design ในชื่อนิทรรศการ Toyo
Institute of Art and Design Graduation Work Exhibition
พวกเราจึงได้เห็นผลงานของคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นที่แสดงออกทางด้านความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งทุกชิ้นล้วนแสดงศักยภาพทางศิลปะและงานออกแบบได้อย่างน่าทึ่ง
มีความน่าสนใจทั้งความคิดสร้างสรรค์และทักษะฝีมือได้อย่างน่าชื่นชมมากๆ
ควรเป็นอย่างมากที่นักศึกษาทางด้านนี้ของไทยควรได้เห็นเพื่อนนำไปเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
เพื่อให้เท่าทันกับพลวัตของงานสร้างสรรค์ในระดับโลก
Shodo
Geijutsu-In Exhibition
โซนถัดไปจากนิทรรศการ
Toyo
Institute of Art and Design Graduation Work Exhibition คือนิทรรศการ
Shodo Geijutsu-In Exhibition ซึ่งจัดแสดงภาพเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นนับหลายร้อยชิ้น
แม้ผมจะอ่านคำแปลของตัวอักษรไม่ออก
แต่จากสิ่งที่ปรากฏทางสายตา
ผมได้สัมผัสกับอารมณ์และกลิ่นอายของญี่ปุ่นผ่านร่องรอยของหมึกที่เกิดจากการตวัดพู่กันด้วยหลังของมือและจิตใจของผู้วาด
การเขียนตัวอักษรของญี่ปุ่นในนิทรรศการนี้จึงเกิดเป็นสุนทรียภาพราวกับกำลังชมภาพจิตรกรรมแบบ
Abstract
Art หรือศิลปะนามธรรม เรียกได้ว่า แม้อ่านไม่ออกแต่สัมผัสได้ด้วยใจ
หลังจากนั้นช่วงบ่ายผมจึงขอแยกตัวเพื่อได้ชมสวนอูเอโนะ
ดูผู้คนที่เดินสัญจรไปมา และเดินไปชมศาลเจ้าต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง
โดยเฉพาะศาลเจ้าแบบชินโตที่มีบรรยากาศลึกลับ ร่มเย็น และศักดิ์สิทธิ์
ยิ่งช่วยเสริมให้ได้สัมผัสอารมณ์ของความความศรัทธาของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นผมยังคงวาดภาพสีน้ำเพื่อเก็บความประทับใจได้ด้วย
ส่วนตอนค่ำคืนก็กินอาหารอย่างง่ายๆ
แถบตลาดอะเมโยโก ก่อนจะเข้านอนท่ามกลางอากาศข้างนอกที่หนาว และมีปรอยฝนบางๆ
ร่วงโรยให้หนาวยะเยือกเพิ่มขึ้นไปอีก
11.02.2018_Tokyo
Day 6
Sensoji
Temple, Bentendo temple, Shinobazu Pond
สายๆ
ของวันที่ 11 กุมภาฯนี้ ผมเดินจากที่พักย่านอุเอโนะผ่านสถานีรถไฟไปตามถนนในเมืองโตเกียวโดยมีจุดหมายที่วัดเซนโซหรือวัดอาซากุสะอันมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในโตเกียว
ระยะทางเดินราว
2
กิโลเมตรกว่าท่ามกลางความหนาวเย็นได้พาผมมาถึงวัดเซ็นโซที่คับคั่งไปด้วยผู้คนหลายพันคนที่มาท่องเที่ยว
ถ่ายภาพ ซื้อของ และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
Sensoji
Temple
วัดเซนโซ
(Sensoji
Temple) หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ วัดอาซากุสะ (Asakusa) เป็นวัดพุทธในย่านอาซากุสะ เขตไทโต โตเกียว
เป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโตเกียว แรกเริ่มเคยเป็นวัดในสายเทนได
ต่อมาได้แยกเป็นอิสระหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บริเวณติดกับวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอาซากุสะ ซึ่งเป็นศาลเจ้าในศาสนาชินโต
วัดเซนโซเป็นสถานที่จัดเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดในโตเกียว
ที่ทางเข้าวัดมีประตูขนาดใหญ่ เรียกว่า ประตูคามินาริ (Kaminari-mon)
หรือ "ประตูอสุนี"
บนคานประตูแขวนโคมกระดาษขนาดใหญ่มีความสูงกว่า 5.5 เมตร
ที่มีรูปสายฟ้าและเมฆเขียนด้วยสีดำและแดง ในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของเจดีย์ 5 ชั้น
และอาคารหลักที่เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์คันนน (Kannon Bosatsu)
ทุกๆ
ปีจะมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติจำนวนมาก
เดินทางมาเยี่ยมชมวัดเซนโซ บริเวณรอบๆ
วัดจึงมีร้านค้าขายสินค้าและอาหารพื้นเมืองญี่ปุ่นมาวางขายจำนวนมาก
โดยเฉพาะที่ถนนนากามิเสะ ซึ่งทอดยาวตั้งแต่ประตูสายฟ้าไปจนถึงบริเวณวัด
สองข้างถนนเต็มไปด้วยร้านค้าเล็กๆขายของที่ระลึกต่างๆ เช่น พัด ภาพวาดแผ่นไม้
ชุดกิโมโน เสื้อคลุมแบบต่างๆ ม้วนภาพเขียน ขนมหวานพื้นเมือง
ไปจนถึงหุ่นยนต์ของเล่น เสื้อยืด หรือของประดับโทรศัพท์มือถือ
และในบริเวณวัดยังมีสวนที่เงียบสงบ
ซึ่งได้รับการดูแลรักษาให้เป็นสวนแบบญี่ปุ่นไว้ได้อย่างดี (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ผมใช้เวลาเวลาเกินครึ่งวันในการถ่ายภาพและวาดภาพเพื่อเก็บบรรยากาศโดยทั่วไปของวัดเซ็นโซ
เพื่อได้ได้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสถานที่ๆ มีชื่อแห่งนี้
โดยผมเดินออกจากวันไปยังซอกซอยต่างๆ พบร้านค้าและร้านอาหารมากมาย
และมีการจัดระบบที่ดี แม้ว่าจะมีผู้คนมากมายดูแล้ววุ่นวาย
แต่ด้วยสังคมญี่ปุ่นทำให้ผมรู้สึกว่า
บรรยากาศยังคงสภาพของความมีระเบียบที่ซุกซ่อนในความวุ่นวายของผู้คนและกิจกรรมต่างๆ
Bentendo
temple & Shinobazu Pond
ช่วงเย็นผมเดินกลับมาทางสวนอุเอโนะและอ้อนไปด้านหลังของโรงแรม
ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดเบนเทนโดะ (Bentendo temple) เป็นวัดที่มีอาคารทรง 8 เหลี่ยม ตั้งอยู่บนเกาะกลางบ่อน้ำชิโนบาสุ (Shinobazu
Pond) ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าเบนเท็น
เทพแห่งการพยากรณ์, สุขภาพ, ดนตรี
และความรู้
ซึ่งในเย็นวันนี้มีการตั้งร้านอาหารจัดวาง
2 ข้างทางเหมือนงานวัดในประเทศไทย ให้บรรยากาศที่คึกครึ้นเพลินๆ
จากนั้นจึงเดินเลียบเลาะไปตามริมบ่อน้ำใหญ่ก่อนจะหาข้าวเย็นกิน
และกลับที่พักในยามค่ำคืนที่เย็นยะเยือกผิดกับที่เมืองไทยของเรา
12.02.2018_Tokyo
Day 7
3331
Arts Chiyoda
เช้าวันที
12 กุมภาฯ นี้ ผมและเพื่อนนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา
ออกจากที่พักแถวย่านอูเอโนะไปกินอาหารเช้าในแถบใกล้เคียงเพื่อรักษาเวลาในการเดินไป
3331
Art Chiyoda โดยมีระยะทางราว 1 กิโลเมตร
3331
Arts Chiyoda
เมื่อมาถึงเราจึงเห็นอาคารของ
3331
Arts Chiyoda เป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Style) ซึ่งเดิมที่นี่เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย Rensei ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่สร้างพื้นที่ที่ศิลปินและนักสร้างสรรค์มีอิสระในการนำเสนอผ่านการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย
3331
Arts Chiyoda เป็นเสมือนพื้นที่สร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน
นักออกแบบ ศิลปิน และนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ให้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างอิสระ
3331
Arts Chiyoda มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายอุปสรรคของการเข้าถึงความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบของงานออกแบบและศิลปะ
ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาได้อย่างสะดวกสบายเพลิดเพลิน
ที่นี่จึงไม่เพียงทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการสร้างเครือข่ายของนักสร้างสรรค์เท่านั้น
แต่ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ
ของญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียที่กว้างไกลขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตามรูปแบบของโลกสากลสำหรับสังคมร่วมสมัย
ส่วนผมก็ลัดเลาะละแวกที่พักแถบสวนอุเอโนะ
ศาลเจ้าชินโต วัดเบนเทนโดะ และสวนสาธารณะแถวบ่อน้ำชิโนบาสุ
ก่อนที่จะเข้าที่พัก
เพื่อเตรียมจัดกระเป๋าเดินทางในการกลับสู่กรุงเทพฯ ในวันรุ่นขึ้น
13.02.2018_Tokyo
Day 8
Tokyo-Bangkok
วันที่
13 กุมภาฯ นี้ พวกเราคณะนิสิต ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา นัดกันเวลา 5:00 น.
ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น ณ
สถานีรถไฟใต้ดินอุเอโนะเพื่อนั่งไปสู่สนามบินนานาชาตินาริตะ
ดังนั้นพวกเราจึงตื่นกันราวๆ ตี 4 กว่า ท่ามกลางอากาศที่หนาวที่สุดในทริปนี้คือ -1
องศา C
ก่อนขึ้นรถไฟเพื่อเดินทางกลับ
พวกเราแต่ละคนต้องจัดแจงในการหาของกินลงท้อง
เพราะหลังจากนี้จะหาของกินได้ยากและต้องเดินทางกันยาวนาน
แต่ละคนจึงแยกย้ายไปหาอาหารรองท้องก่อนจะมาพบกันตอนตี 5
พวกเรานั่งรถไฟใต้ดินที่แล่นยาวไปสนามบินนานาชาตินาริตะที่ออกในเวลา
5:58 น. ท่ามกลางความมืดที่ใกล้สว่างของกรุงโตเกียว
ในบรรยากาศภายนอกที่หนาวยะเยือก
รถไฟฟ้าแล่นมาถึงสนามบินฯ
โดยใช้เวลาราว 45 นาที
จากนั้นพวกเรารีบเดินเพื่อเช็คอินเข้าด้านใน
และผ่านขบวนการต่างๆ กว่าจะเรียบร้อยก็ปาเข้าไป 8 โมงครึ่งกว่าๆ
แต่ละคนจึงรีบแยกย้ายได้ซื้อของฝากปลอดภาษีในบริเวณสนามบินก่อนจะขึ้นเครื่อง
และเครื่องออกจากสนามบินฯ
ในเวลาท้องถิ่นคือเวลา 9:35 น.
นั่นจึงเป็นก้าวสุดท้ายที่พวกเราออกจากแดนอาทิตอุทัย
เครื่องบินพาเราเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจีนใต้กว่าจะมาถึงแผ่นดินไทยใช้เวลาราว
7 ชั่วโมงกว่า
เครื่องบินที่พวกเราโดยสารแตะถึงพื้นแผ่นดินแม่ของเราที่สนามบินดอนเมืองราว
15:00 น. หรือบ่าย 3 โมงตามเวลาในประเทศไทย
และนั้นคือฉากสุดท้ายของทริปที่สนุกสนาน
ได้ความรู้ใหม่ ได้มิตรภาพและน้ำใจที่ดีระหว่างผู้ร่วมเดินทาง
และที่สำคัญคือสร้างประสบการณ์ใหม่ที่จะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจสู่การศึกษาในระดับสูงต่อไป
บทส่งท้าย
คณะนิสิต
ป.เอก ศิลปกรรม ม.บูรพา ที่ร่วมเดินทางในทริปโตเกียวประกอบไปด้วย นิสิต ป.เอก
สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ ม.บูรพา ได้แก่ พี่แจม จั๊ม ชะเอม แน็ก มด เน และติ้ง
นิสิต ป.เอก สาขาการบริหารและจัดการศิลปวัฒนธรรม ม.บูรพา ได้แก่ พี่ต่อ อา และจาง
ยู
ขอบคุณมิตรภาพที่มีต่อกันครับ
alat pembesar alat vital
ตอบลบalat pembesar penis
vacum penis
alat pembesar
pembesar penis