ความหมายของลักษณะทางเพศของมนุษย์ผ่านภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016”[1]
The meaning of human sexuality in a drawing series
"Nude 2016"
โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ[2]
โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ[2]
บทความนี้ตีพิมพ์ใน วารสารนิเทศสยามปริทัศน์
ปีที่ 16 ฉบับที่ 20 ประจำปี 2560, หน้า 66-75.
สามารถดาวโหลดแบบ PDF ได้ตาม Link นี้
บทคัดย่อ
ภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016” สื่อความหมายถึงเพศสถานะตามลักษณะของร่างกายของมนุษย์ ซึ่งใช้รหัสของกายวิภาคของมนุษย์มาเป็นกฏเกณฑ์ในการสร้างเป็นภาพสัญญะด้วยลายเส้น
โดยภาพที่ปรากฏมีสถานะเป็นสัญรูปที่สื่อถึงร่างกายมนุษย์และเป็นภาพสัญลักษณ์ที่สื่อลักษณะเฉพาะของเพศสถานะตามลักษณะของร่างกาย
ภาพวาดลายเส้นเปลือยอยู่ในลักษณะของมนุษย์ในท่านอนที่หลากหลายในพื้นที่ส่วนบุคคล เพื่อสื่อถึงวิถีชีวิตในพื้นที่ส่วนตัวของมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงในสังคมเมืองร่วมสมัย
คำสำคัญ: ความหมาย, เพศ,
ภาพวาดลายเส้น
Abstract
Drawing
series "Nude 2016" meaningful gender-based nature of the human body.
Human anatomy is the use of rules to create a sign with stripes. The image has
become an icon representing the human body and is a symbol that conveys the
unique nature of gender-based nature of the body. Drawing the nude in the
nature of the human person in a variety of personal space. To reflect the way
of life in the area of human males and females in contemporary urban society.
Keywords: meaning, sexuality, drawing
บทนำ
ภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016”
(Nude 2016) เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยสุริยะ ฉายะเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อดิจิทัล
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (ผู้เขียน) ด้วยแนวคิดของการสร้างภาพแทนความหมายของลักษณะทางกายภาพของความเป็นเพศผ่านรูปลักษณ์
(image) ของรูปร่าง (shape) มนุษย์
ซึ่งรูปร่างของมนุษย์ในแบบที่เปลือยเปล่า (nude) นั้น นอกจากจะมีมิติของภาพที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางเพศแล้ว
ด้านหนึ่งยังมีมิติของประสบการณ์สุนทรียะที่เกิดจากรูปร่างอันบริสุทธิ์ที่ปราศจากอาภรณ์อันเป็นเครื่องบ่งบอกความหมายและความเป็นปัจเจกบุคคล
รูปร่างเปลือยเปล่าอันบริสุทธิ์เกิดจากเส้นสมมุติหรือเส้นรอบนอกของร่างกาย (outline) มนุษย์ที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง
แม้ภาพเปลือยมักจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศของมนุษย์ที่อาจจะเชื่อมโยงประเด็นในเรื่องของความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์และรวมไปถึงของการสืบเผ่าพันธุ์ตามสัญชาติญาณของสัตว์โลกก็ตาม
หากแต่ในความแตกต่างของรูปร่างของร่างกายมนุษย์ทั้งเพศชายและหญิงกลับมีความงามที่แตกต่างกันไปตามรูปลักษณ์ของเส้นรอบนอกที่ปรากฏ
การวาดภาพลายเส้นในชุดนี้จึงไม่เพียงแต่เน้นไปที่ความงามของเส้นที่ถูกลากให้เกิดเป็นรูปเสมือน
(icon) ที่สื่อถึงความเป็นเพศนั้นๆ
มากกว่าจะเป็นการใช้รูปเป็นสื่อในการกระตุ้นเร้าความรู้สึกทางเพศอันนำไปสู่ความต้องการเกิดประสบการณ์เพศสัมพันธ์
หรือจะกล่าวได้ว่า “ศิลปะจะต้องไม่มุ่งเน้นที่ความต้องการทางเพศ
แม้ว่านั่นจะเป็นความต้องการทางธรรมชาติก็ตาม
ศิลปะจึงนำพามนุษย์ไปสู่สภาวะที่สุดขั้ว สภาวะที่มนุษย์ก้าวข้ามพ้นความเป็นมนุษย์”
(ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2557: 204)
เพราะฉะนั้น การวาดรูปร่างกายที่เปลือยของมนุษย์จะมีความเป็นศิลปะได้ก็ตราบที่ไม่มีเรื่องของความต้องการทางเพศมาเกี่ยวข้อง
ภาพเปลือยจึงเป็นการก้าวข้ามสัญชาติญาณในเรื่องของการสืบพันธุ์เพื่อนำไปสู่สร้างภาพแทน
(representation) ที่กลายเป็นภาพเพื่อสื่อความหมายบางอย่างตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้างสรรค์
ระบบความหมายของภาพลายเส้นในชุดนี้จึงเกิดขึ้นจากการผสานกันของเส้นที่ก่อร่างจนกลายเป็นภาพสัญญะ
(sign) ที่สื่อไปถึงความเป็นไปของเพศสถานะ (Gender)
ตามลักษณะทางกายวิภาค (anatomy) ของแบบ
ทั้งนี้อันเนื่องจากชุดรหัส (code) ของเส้นที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างนั้นสร้างภาพแทนความที่เป็นภาพเสมือนที่ล้อไปกับรูปลักษณ์ของร่างกายที่แบ่งประเภทของแบบด้วยลักษณะทางเพศ
สัญญะของรูปร่าง ท่าทาง และเครื่องเพศ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การสื่อความหมายของภาพวาดลายเส้นแต่ละชิ้นสามารถสื่อได้ถึงลักษณะของร่างกายมนุษย์ที่อยู่ในสถานะทางเพศผ่านรหัสของร่างกายแบบใด
ฉะนั้นความหมายของภาพลายเส้นที่อยู่ภายใต้ร่มเงาพื้นที่ของ “ทัศนาวัฒนธรรม” (visual
culture) “เพศได้กลายเป็นเรื่องของสุนทรียะหรือความงาม (anesthetization
of sex) ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นกลไกสำคัญในฐานะของกระบวนการสร้างความเป็นตัวตนไปด้วยในตัว” (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2556: 114) ผลงานในชุดนี้จึงต้องการสื่อความหมายในเรื่องของร่างกายมนุษย์ที่มีสถานะทางเพศที่แตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงผ่านอธิยาบทที่คล้ายกันในแนวนอน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียบเรียงกระบวนการสร้างสรรค์ภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016”
2. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของภาพลายเส้นภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016”
3.
เพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายลักษณะเพศของมนุษย์ผ่านภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016”
แนวคิดที่เกี่ยวข้อง
ผลงานชุด “รูปเปลือย 2016” นี้ใช้แนวคิดของเทคนิคการวาดเส้นเพื่อบันทึกข้อเท็จจริง
(ชลูด นิ่มเสมอ, 2553: 25-66) ซึ่งเป็นกระบวนการวาดลายเส้นที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การบันทึกข้อเท็จจริงทางกายภาพด้วยการวาด
ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นมิใช่ความเหมือนจริงแบบภาพถ่าย
แต่เป็นการเข้าไปถึงแก่นของความจริงของวัตถุต่างๆ ด้วยวิธีวาดเส้น (Line Drawing หรือ Delineation Drawing) ซึ่งเน้นเฉพาะการใช้ลายเส้นในการแสดงออกเท่านั้น
(สงวนศรี ตรีเทพประติมา, 2555: 22)
ในส่วนของแนวคิดร่างกายมนุษย์
ผลงานชุดนี้ใช้หลักกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) มาประยุกต์ใช้ในผลงานชุด“รูปเปลือย 2016” ในส่วนของของลักษณะรูปร่างและสัดส่วนทางกายภาพของร่างกายมนุษยที่แสดงอองในท่าทางต่างๆ
(ภาพที่ 1) ซึ่งในผลงานชุดนี้ใช้ลักษณะของเส้นรอบนอกและสัดส่วนของร่างกายมาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
เพื่อสื่อถึงร่างกายของมนุษย์ของเพศชายและเพศหญิงได้
ภาพที่ 1 สัดส่วนและรูปร่างตามอุดมคติของเพศชายและเพศหญิง
(Andrew Loomis,2556: ระบบออนไลน์)
ขณะที่แนวคิดในการวิเคราะห์เพื่อถอดรหัสความหมายของภาพใช้สัญวิทยา
(Semiology)
หรือสัญศาสตร์ (Semiotic) มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ผลงานซึ่งมีสถานะเป็นภาพสัญญะ (sign) เพื่อแสดงให้เห็นส่วนของตัวหมาย (signifier) แทนภาพที่ปรากฏ และสิ่งที่ถูกหมายถึง (signified) แทนในส่วนของความคิด
(concept) ตามแนวทางศึกษาในแบบของแฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de
Saussure) และรวมไปถึงลักษณะการวิเคราะห์ตามประเภทของสัญญะในแนวทางศึกษาของชาร์ลส์
แซนเดอรส์ เพียซ (Charles
Sanders Peirce) อันประกอบไปด้วย
สัญลักษณ์ (Symbol) ภาพเสมือน (Icon) และดัชนี (Index) (Anne D'Alleva, c2012: 28-29)
วิธีดำเนินวิจัย
กระบวนการสร้างสรรค์
1. วางแผนและศึกษากายวิภาคศาสตร์และทักษะการวาดภาพลายเส้นมนุษย์
รวมไปถึงหาแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในงานสร้างสรรค์ชุดนี้
2. จากการศึกษาเบื้องต้นนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์โดยวาดภาพลายเส้นจากแบบจริงด้วยลักษณะของลายเส้นที่ได้ค้นคว้ามาประยุกต์ใช้
(คล้ายกับวิธีการวาดตามภาพที่ 2)
3. นำภาพผลงานที่สำเร็จมาศึกษาและวิเคราะห์ทั้งกระบวนการสร้างสรรค์
ลักษณะของภาพลายเส้น และการสื่อความหมายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปผลการสร้างสรรค์
4.
นำภาพผลงานไปเผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศการศิลปะสู่สาธารณะ
5.
นำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา
144-335 พื้นฐานการ์ตูน ประจำปีการศึกษา 2559
ภาพที่ 2 ภาพพิมพ์แกะไม้ของอัลแบร็ชท์ ดือเรอร์ (Albrecht
Dürer) ราวศตวรรษที่ 16 แสดงเนื้อหารูปแบบการวาดภาพลายเส้นของจิตรกรตามหลักทัศนียวิทยาท่านอนของผู้หญิงเปลือย
(Draughtsman Making a Perspective Drawing of a Reclining Woman)
(The Metropolitan Museum of Art, 2559: ระบบออนไลน์)
ผลการดำเนินการ
จากการศึกษาและปฏิบัติงานแล้วนำมาวิเคราะห์ผลงาน
สามารถรายงานถึงผลการดำเนินงานได้ดังนี้
1. มีผลงานสร้างสรรค์ภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016” จำนวนทั้งสิ้น
20 ภาพ
2. ผลงานทั้งหมดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนวิธีการลากเส้นด้วยมือโดยใช้เทคนิคหมึกดำด้วยปากกาหัวพู่กันบนกระดาษสีขาว
โดยใช้เส้นในแบบวาดลายเส้นอย่างเดียว
3. ศึกษาและวิเคราะห์ภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016”
และนำมาเขียนเป็นบทความประกอบผลงานสร้างสรรค์
4. นำผลงานสร้างสรรค์ชุด “รูปเปลือย 2016” จัดแสดงในนิทรรศการ
"Thai
Space Digital Art Design" การแสดงผลงานคณาจารย์และนักศึกษา
ครั้งที่ 3 จัดโดยสาขาวิชาออกแบบดิจิทัลอาร์ต
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ณ ห้องแสดงนิทรรศการ
อาคารทวารวดีศรีราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน พ.ศ.2559
5. หลังจากนำไปแสดงนิทรรศการศิลปะฯ แล้วจึงนำภาพผลงานภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016” มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา 144-335 พื้นฐานการ์ตูน โดยทำเป็นภาพนำเสนอ ประกอบการสอนพร้อมอธิบายถึงที่มาและแนวคิดการสร้างสรรค์
ซึ่งผลปรากฏว่าร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่ได้ทำการทดสอบสามารถบอกถึงลักษณะเพศของมนุษย์ผ่านภาพวาดลายเส้นได้
โดยสามารถในการชี้แจงอธิบายถึงรหัสทางกายวิภาคที่นำไปสู่การสื่อความหมายลักษณะทางเพศของภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016” ได้
ผลงานสร้างสรรค์ภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016”
ภาพที่
3
ภาพที่ 4
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10
ภาพที่ 11
ภาพที่ 12
ภาพที่ 13
ภาพที่ 14
ภาพที่ 15
ภาพที่ 16
ภาพที่ 17
ภาพที่ 18
ภาพที่ 19
ภาพที่ 20
ภาพที่ 21
ภาพที่ 22
ภาพที่
|
ชื่อภาพ
|
เทคนิค
|
ขนาด
|
3
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 1
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
4
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 2
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
5
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 3
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
6
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 4
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
7
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 5
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
8
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 6
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
20x29 เซนติเมตร
|
9
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 7
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
10
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 8
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
11
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 9
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
12
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 10
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
13
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 11
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
14
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 12
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
30x40 เซนติเมตร
|
15
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 13
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
30x40 เซนติเมตร
|
16
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 14
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
30x40 เซนติเมตร
|
17
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 15
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
30x40 เซนติเมตร
|
18
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 16
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
19
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 17
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
20
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 18
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
21
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 19
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
22
|
ภาพเปลือย 2016 หมายเลข 20
|
วาดลายเส้นหมึกดำบนกระดาษ
|
21x30 เซนติเมตร
|
ภาพที่ 23 ผลงานสร้างสรรค์ชุด “รูปเปลือย 2016” จัดแสดงในนิทรรศการ
"Thai Space Digital Art Design"
ณ
อาคารทวารวดีศรีราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน พ.ศ.2559
สรุป
ผลงานภาพวาดลายเส้นชุด “รูปเปลือย 2016”
สร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคการวาดลากเส้นลงบนกระดาษสีขาวโดยมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
โดยผู้สร้างสรรค์วาดขึ้นจากต้นแบบของร่างกายบุคคลและจัดท่าทางในลักษณะนอนโดยแบ่งเป็นภาพเพศชายและภาพเพศหญิงด้วยวิธีการวาดอย่างฉับพลันและใช้เส้นในการนำเสนอโดยมิได้แทรกมิติของภาพด้วยลักษณะของแสงเงา
ผลงานชุด “รูปเปลือย 2016”
นี้ใช้หลักการรูปร่างและสัดส่วนตามกายวิภาคของมนุษย์เป็นรหัสในการสร้างรูปลักษณ์
เพื่อนำเสนอรูปร่างมนุษย์ที่แสดงเพศสถานะผ่านร่างกายตามธรรมชาติของมนุษย์
รหัสของลายเส้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นรูปร่างมนุษย์สามารถนำไปสู่การถอดรหัสถึงลักษณะทางเพศได้
ทั้งนี้เกิดจากการประกอบกันของชุดรหัสกายวิภาคมนุษย์กับรหัสของลายเส้นรูปร่างมนุษย์ทำให้ภาพมนุษย์ที่เป็นสื่อแทนความเป็นต้นแบบ
(form) มากกว่าจะสื่อถึงลักษณะปัจเจกบุคคล
แม้ว่าผลงานในชุดนี้จะแสดงออกถึงการคลี่คลายของรูปร่างที่อาจจะละเลยความเป็นจริงทั้งในเรื่องของแสงเงา
ทัศนยวิทยา และสัดส่วนของมนุษย์อย่างเคร่งครัด แต่ผู้ดูหรือผู้รับสารก็สามารถเข้าใจความหมายชั้นต้นที่ปรากฏอยู่บนภาพได้
แผนผังโครงสร้างกระบวนการวิเคราะห์ผลงานภาพวาดลายเส้นชุด
“รูปเปลือย 2016”
ร่างกายของมนุษย์ในผลงานชุด
“รูปเปลือย 2016” นี้ ถือเป็นภาพสัญญะที่มีตัวหมาย (signifier) เป็นภาพวาดลายเส้นและมีความหมาย (signified) เป็นรูปเปลือยของมนุษย์ทั้งเพศชายและหญิง
โดยสัญญะของภาพวาดเส้นรูปเปลือยในชุดนี้มีลักษณะเป็นสัญรูป (icon) ที่แสดงรูปลักษณ์ที่ใช้รหัสของกายวิภาคมนุษย์เพื่อสื่อแทนความหมายถึงมนุษย์ตามแบบที่ถูกจัดการด้วยท่าทางแนวนอนในรูปแบบต่างๆ
ขณะเดียวกันภาพวาดเส้นรูปเปลือยในชุดนี้ยังอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ (symbol) ที่สื่อถึงลักษณะทางเพศผ่านรหัสของร่างกายผ่านรูปร่าง หน้าอก
และเครื่องเพศที่แสดงออกถึงลักษณะทางเพศตามเพศสถานะทางร่างกาย ขณะที่บางภาพมีสัญญะอื่นๆ
ประกอบเพื่อเป็นบริบทในการสื่อความหมายแฝง
(connotation) เช่น การนอนบนที่นอนที่มีหมอนและผ้าห่มอันสื่อถึงพื้นที่ส่วนตัวที่มีความปลอดภัย
มีอิสระ และนำไปสู่พักผ่อน การใช้สมาร์ทโฟน (smartphone) และการอ่านหนังสือเพื่อเป็นรหัสที่สื่อถึงวิถีชีวิตส่วนบุคคลในสถานที่ส่วนตัวที่มีความปลอดภัย
และแสดงออกถึงอิริยาบทและกิจกรรมในพื้นที่ส่วนตัว (privacy) ของมนุษย์ที่สามารถปลดปล่อยอากัปกิริยา
ท่าทาง กิจกรรม และรวมไปถึงการใช้ชีวิตในพื้นที่ๆ ปลอดภัยและสะดวกสบายตามลักษณะของปัจเจกชนในสังคมเมืองปัจจุบัน
โดยสรุปแล้ว
ผลงานในชุดนี้เป็นการใช้สัญญะของร่างกายมนุษยที่ประกอบขึ้นจากลายเส้นที่ใช้รหัสทางกายวิภาคมนุษย์มาเป็นกฏเกณฑ์ในการสร้างภาพสัญญะเพื่อนำเสนอผลงานภาพวาดลายเส้นที่สื่อความหมายถึงลักษณะทางเพศตามสภาพร่างกายของมนุษย์ผ่านสัญญะของภาพเปลือยที่มีความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่อยู่ในอิริยาบทการนอนและทำกิจกรรมอื่นๆ
ในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคลอันสื่อถึงพื้นที่ๆ เต็มไปด้วยเสรีภาพและความปลอดภัยตามลักษณะวิถีชีวิตของปัจเจกชนแบบสังคมเมืองในปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะ
แม้ภาพเปลือยมนุษย์จะถูกทำให้กลายเป็นปัญหามาโดยตลอดในบริบทของจริยธรรม
ศีลธรรม ศาสนา จารีตประเพณี วัฒนธรม และกฏหมาย ตราบจนถึงปัจจุบัน
หากแต่ความเปลือยเปล่าของร่างกายมนุษย์กลับเป็นสิ่งที่มนุษย์มีความใกล้ชิดที่สุดมากกว่าวัตถุใดๆ
ในโลก เพราะฉะนั้นในบริบทของศิลปะ ร่างกายที่เปลือยเปล่าถูกนำมาใช้เป็นสัญญะ เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงรสทางสุนทรียะหรือความงามและการสื่อความหมายต่างๆ
ภาพร่างกายเปลือยของมนุษย์จึงมีสถานะที่อยู่ตรงกลางระหว่างอนาจารกับความบริสุทธิ์
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความเชิงอัตวิสัย (subjectivity) ที่ผู้ดูหรือผู้รับสารจะสามารถทำความเข้าใจในรหัสที่ปรากฏบนตัวสื่อ (media) และสาร (message) ชนิดนั้นๆ หรือไม่
เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาพร่างกายเปลือยของมนุษย์จะถูกนำไปศึกษาในบริบทอื่นๆ
เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต
ภาษาไทย
ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). วาดเส้นสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธเนศ
วงศ์ยานนาวา. (2557). เมื่อฉันไม่มีขน ฉันจึงเป็นศิลปะ.
กรุงเทพฯ: สมมติ.
______________. (2556). เพศ: จากธรรมชาติ
สุ่จริยะธรรม จนถึงสุนทรียะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมมติ.
สงวนศรี
ตรีเทพประติมา. (2555). การวิเคราะห์งานวาดเส้นร่วมสมัยไทยในต้นศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2000-2012). (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาทฤษฎีศิลป์).
มหาวิทยาลัยศิลปากร,
กรุงเทพฯ.
ภาษาอังกฤษ
Anne
D'Alleva. (c2012) Methods & Theories of Art
History. London: Laurence King.
ข้อมูลออนไลน์
Andrew
Loomis. (2011). Figure Drawing for All It's Worth (2556). สืบค้นจากhttps://archive.org/details/loomis_FIGURE_draw
The Metropolitan Museum of Art. (2016). Draughtsman Making a Perspective Drawing of a Reclining Woman. สืบค้นจากhttp://www.metmuseum.org/art/collection/search/366555
______________________________________________ภาพจากวารสารวิชาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น