บทนำ
ศิลปะในศตวรรษที่ 21 เป็นสาขาการปฏิบัติการ การวิจัย และการเผยแพร่สู่สาธารณะที่กำลังเติบโต ศิลปะในศตวรรษที่ 21 เป็นสาขาการศึกษาที่มีพลวัตอย่างไม่น่าเชื่อ หัวข้อสำคัญมากมายได้รับการสะท้อนในศตวรรษใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดใหม่ ๆ และการถกเถียงทางวิชาการ เช่น การเพิ่มขึ้นของศิลปะชีวภาพ (bio art) เพื่อตอบสนองต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ภาพที่ 1) และทฤษฎีเชิงวิพากษ์ที่เรียกว่า สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (relational aesthetics) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของงานศิลปะที่เชิญชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ (participation and interaction) นอกจากนี้ ยังที่มีการพูดถึงหัวข้อและแนวคิดอื่น ๆ อีกมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ศิลปะในศตวรรษที่ 21 อย่างเช่น เรื่องของวัฒนธรรมทางสายตา (visual culture) สัญศาสตร์ (semiotics) โพสต์โมเดิร์นนิสม์/หลังสมัยใหม่นิยม (post-modernism) และสตรีนิยม (feminism)
ศิลปะแห่งศตวรรษที่
21 เกิดขึ้นจากวัสดุและวิธีการที่หลากหลาย
ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ล่าสุดเช่นการถ่ายภาพดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต หรือเทคนิคทางศิลปะประเภทที่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์อันยาวนานก็ยังคงได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องด้วยความแข็งแกร่ง
เช่น งานจิตรกรรมของชาฮ์เซีย ซิกันเดอร์ (Shahzia Sikander) ศิลปินชาวปากีสถาน
(ภาพที่ 2) หรือเรื่องของวัสดุในงานศิลปะ และกระบวนการที่เคยเกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับหลักคิดใหม่
ๆ ศิลปินหลายคนผสมผสานสื่อและรูปแบบอันหลากหลายอย่างสม่ำเสมอ (mix media
and forms) อีกทั้งมีอิสระในการเลือกที่ตอบสนองแนวคิดและวัตถุประสงค์ของตนให้ดีที่สุดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง
นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรมทางศิลปะที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่โครงการศิลปะที่ประสบความสำเร็จด้วยงบประมาณจำนวนมากและมีการผลิตที่พิเศษ
ไปจนถึงความพยายามแสดงออกถึงง่ายที่เน้นกระบวนการประสบการณ์ชั่วคราว (ephemeral
experiences) และวิธีการทำด้วยตัวเอง (a do-it-yourself
approach)
ภาพที่ 2 Shahzia Sikander: SpiNN, Video still from DVD animation loop, 6 min. and 38 seconds, 2003 (Oxford Art Online, Shahzia Sikander, n.d.)
ทั้งนี้
กล่าวได้ว่า แนวคิดเรื่องอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อการสร้างสรรค์ที่มีมาแต่เดิมก็อาจจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารและเทคโนโลยีในปัจจุบัน
(communications and technology) ซึ่งไม่ว่าทุกสถานที่ทั่วโลกมีศิลปินที่อยู่ในภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นแบบไหนก็ตาม
(geographies and histories) ก็ล้วนสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวในด้านวัฒนธรรมทางสายตาในระดับโลก
(global visual culture) ด้วยกันทั้งนั้น
ซึ่งคุณลักษณะสำคัญของศิลปะในศตวรรษที่
21 (และหลายภาคส่วนของชีวิตในศตวรรษที่ 21) คือ ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (the impact of globalization) ที่เป็นการการเชื่อมต่อระหว่างกันของกิจกรรมและข้อมูลต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ก้าวข้ามเวลาและและพื้นที่
(across time and space)
ด้วยความช่วยเหลือจากอินเทอร์เน็ตและสื่อสารมวลชน ทำให้เกิดการรับรู้ถึงพลังของศิลปะร่วมสมัยในท้องถิ่นต่าง
ๆ ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ ตัวอย่างเช่น ทุกคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสามารถติดตามการพัฒนาในเซี่ยงไฮ้
(Shanghai) ซิดนีย์ (Sydney) เซาเปาโล
(São Paulo) หรือไนโรบี (Nairobi)
ในขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นของศิลปินข้ามพรมแดนและมหาสมุทรได้เพิ่มการผสมผสานระหว่างอิทธิพลและคำศัพท์ทางศิลปะ
เช่น วันเกจิ
มูตู (Wangechi Mutu) ศิลปินหญิงที่มีพื้นเพมาจากเคนย่าศึกษาต่อในเซาท์เวลส์และในสหรัฐอเมริกา
เธอสร้างภาพปะติดรูปสตรี (collaged images of women)
จากเรื่องราวของการบอกเล่าผ่านศิลปะแบบชนเผ่าแอฟริกัน
ศิลปินภาพปะติดในยุโรปและอเมริกาในศตวรรษที่ 20
ภาพประกอบแฟชั่น ภาพโป๊ (pornography) และข้อมูลทางการแพทย์
(ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 Wangechi Mutu: Pin-up, ink, acrylic and collage on mylar, 558.8×431.8 mm, 2001 (Oxford Art Online, Wangechi Mutu, 2021)
ความหมายและผลของโลกาภิวัตน์เป็นที่ถกเถียงกันมากโดยนักวิชาการ
เช่น ในทางเศรษฐกิจและทางการเมือง โลกาภิวัตน์เป็นพลังสำหรับการเติบโตและเสรีภาพในสังคมทุกที่หรือไม่
หรือมีส่วนช่วยในการแสวงหาผลประโยชน์จากภูมิภาคที่กำลังพัฒนาโดยผู้มั่งคั่ง โลกาภิวัตน์ทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกันในท้องถิ่นต่าง
ๆ หรือไม่ โลกาภิวัตน์และศิลปะในเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และที่อื่น ๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายสมมติฐานดั้งเดิมและการตัดสินคุณค่าที่เป็นพื้นฐานของตะวันตกหรือไม่
นิทรรศการที่รวบรวมผลงานภายใต้หัวเรื่องโลกาภิวัตน์เป็นตัวแทนของศิลปินจากส่วนต่าง
ๆ ของโลกได้อย่างไร ตลาดงานศิลปะมีการขยายตัวและการเพิ่มจำนวนของเทศกาลศิลปะนานาชาติทุก
ๆ 2 ปี (biennials) และงานแสดงศิลปะ (art
fairs) ได้มีส่วนช่วยให้กลุ่มศิลปินที่ได้รับการคัดเลือกจากทุกทวีปมีส่วนร่วมในระดับนานาชาติ
ทว่าโครงสร้างพื้นฐานและค่านิยมของตลาดศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหรือไม่
วัฒนธรรมทางสายตา (visual culture)
วัฒนธรรมทางสายตาในศตวรรษที่
21 ได้เติบโตขึ้นในฐานะสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการ (a
recognized interdisciplinary field of study) ที่ได้รับการยอมรับโดยใช้แนวทางหลายแง่มุม
เพื่อทำความเข้าใจว่าภาพทุกประเภททำการสื่อสารและมีส่วนร่วมในการสร้างอัตลักษณ์ เพศ
ชนชั้น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และ ความหมายและคุณค่าทางสังคมและการเมืองอื่น ๆ การแพทย์
วิทยาศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมผู้บริโภค ศาสนา และจิตวิญญาณ อันเป็นพื้นฐานบางประการที่การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาตรวจสอบควบคู่ไปกับศิลปะ
นักวิชาการด้านวัฒนธรรมทางสายตาทำการวิเคราะห์ภาพยนตร์ โทรทัศน์ นิยายภาพ การออกแบบแฟชั่น
และวัฒนธรรมสมัยนิยมในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อศิลปะที่เป็นที่ยอมรับ (เช่น ภาพวาด)
โดยใช้วิธีการและทฤษฎีหลายอย่าง รวมทั้งสัญศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิเคราะห์ ทฤษฎีการรับ
(reception theory) สตรีนิยม และแนวคิดของการจ้องมอง (the
concept of the gaze)
เช่นเดียวกับที่นักวิชาการด้านวัฒนธรรมทางสายตากำลังตรวจสอบภาพและสื่อทุกประเภทเช่นกัน
ศิลปินในศตวรรษที่ 21 ก็เป็นผู้วาดภาพจากแรงบันดาลใจ ภาพที่ปรากฏ
ความเป็นวัสดุ และแนวคิดจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งมีเคลื่อนไหวที่ดีกว่าการทำความเข้าใจเฉพาะอิทธิพลจากประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ
ศิลปินร่วมสมัยส่วนใหญ่ไม่ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างศิลปะชั้นสูงกับวัฒนธรรมประชานิยม
(high art and popular culture) เช่น ศิลปินร่วมสมัยจำนวนหนึ่งใช้เทคนิคดั้งเดิมของศิลปะเส้นใย
(fiber art) แต่ใช้เพื่อสร้างรูปแบบนอกกรอบเดิมหรือแสดงประเด็นการแก้ไขปัญหาทางสังคมและการเมืองในปัจจุบัน
ซึ่งในแนวทางนี้ กาฮ์ดา อะเมอร์ (Ghada Amer)
ศิลปินหญิงชาวอเมริกัน ได้ใช้ด้ายเย็บปักถักร้อยบนผืนผ้าใบด้วยลวดลายซ้ำ ๆ รูปผู้หญิงเปลือยในท่วงท่าเกี่ยวกับเพศ
(motifs of nude women engaged in sexual acts) จากนั้นบดบังภาพปักบางส่วนด้วยฝีแปรงของพู่กัน
เนื้อหาในงานศิลปะของเธอเป็นการสื่อถึงแสดงออกและข้อห้ามในเรื่องเรื่องเพศและเรื่องกามารมณ์ของผู้หญิงทั้งในสังคมตะวันตกและศาสนาอิสลาม
(ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4
Ghada Amer: Trini. 2005: Acrylic, embroidery and gel medium on canvas
อีกตัวอย่างหนึ่งของการผสมผสานวัฒนธรรมทางสายตา
คือ ปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะร่วมสมัย โดยศิลปินหลายคนมีการผสมผสานแนวทางวิทยาศาสตร์
เรื่องของภาพ และแนวความคิดมาใช้ในการปฏิบัติของพวกเขา ตัวอย่างเช่น
งานศิลปะสื่อผสมและจัดวางของ วิม เดลวอย (Wim Delvoye) ชื่อ “Cloaca” ที่จินตนาการถึงมนุษย์ว่าเป็นไซบอร์กหรือหุ่นยนต์ ซึ่งผลงานชิ้นนี้เป็นตัวแทนความหมายถึงเรื่องระบบย่อยอาหารของมนุษย์ว่าเป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง
(ภาพที่ 5)
ภาพที่ 5
Wim Delvoye: Cloaca Original, mixed media, 11.6×1.7×2.7 m, 2000
สุดท้ายแล้ว ศิลปินในศตวรรษที่ 21 จำนวนมากได้รับผลกระทบอย่างมากจากการดื่มด่ำกับวัฒนธรรมทางสายตาในระดับโลก
ซึ่งปัจจุบันถูกนำเสนอผ่านเครือข่ายออนไลน์ ศิลปินหลายคนกลายเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ส่วนตัวและบางคนสร้างงานศิลปะเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อสังคม
(social media) โดยชัดแจ้ง ทำให้เห็นได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ
มักให้โอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ เสมอ
สาธารณะและศิลปะแบบมีส่วนร่วม (Public and participatory art)
ศิลปะสาธารณะ
(Public art) เป็นประเภทที่มีชื่อเสียงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20
ซึ่งดึงดูดผู้ปฏิบัติงานทั้งแบบดั้งเดิมและแบบทดลอง
ศิลปะสาธารณะในศตวรรษที่ 21 ได้ขยายออกไปมากขึ้นในฐานะของกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถเกิดขึ้นได้
นอกเหนือจากรูปแบบที่คุ้นเคยอย่างต่อเนื่อง เช่น
ประติมากรรมหรือศิลปะจัดวางในพื้นที่เฉพาะ (site-specific) ภาพจิตรกรรมบนผนัง
กราฟฟิตี (graffiti) และความร่วมมือกันระหว่างศิลปิน วิศวกร และสถาปนิก
งานศิลปะสาธารณะยังครอบคลุมไปถึงการเสนอหัวข้อใหม่ ๆ รูปแบบและสถานที่ใหม่ ๆ
รวมถึงการจัดแต่งร้านศิลปะ (pop-up art shops) ขบวนพาเหรดบนถนน
และโครงการออนไลน์ต่าง ๆ
ศิลปินแบบศิลปะสาธารณะในศตวรรษที่ 21 อาจใช้แนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างศิลปะจัดวางและศิลปะแสดงสด (installation and performance) แต่นำเสนอรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ในปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่ศิลปินจะจ้างคนอื่น ซึ่งบางครั้งก็มีทักษะพิเศษมาแสดง (performances) ในนามของพวกเขา เช่น เวเนสซ่า บีครอฟ (Vanessa Beecroft) ศิลปินหญิงแนวศิลปะแสดงสดชาวอิตาเลียน ได้ว่าจ้างนางแบบแฟชั่นมาใช้เป็นการแสดงศิลปะ (ภาพที่ 6) และ อัลโลร่าและคาลดาซิลล่า (Allora & Caldazilla) สองศิลปินที่ทำงานร่วมกันได้กำกับให้นักกีฬามืออาชีพให้เป็นนักแสดงในพื้นที่ศิลปะแนวจัดวางของพวกเขา
ภาพที่ 6
vb84.044.nt, 2017-2018: C-print
แนวโน้มที่เด่นชัดในศตวรรษที่
21 คือ ศิลปะที่มีส่วนร่วม ซึ่งผลตอบรับจากสังคมทำให้กลายไปสู่เรื่องของเนื้อหาที่มักเรียกกันว่า
ศิลปะเชิงสัมพันธ์ (relational art) งานนี้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับสาธารณชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น คาร์สเตน ฮอลเลอร์ (Carsten Höller) ได้ติดตั้งสไลเดอร์หรือกระดานลื่นขนาดยักษ์ในพิพิธภัณฑ์
เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้เล่นเลื่อนลง (ภาพที่ 7) และฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช (Rirkrit Tiravanija) ได้ประกอบและปรุงอาหารไทยและเสิร์ฟให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมหอศิลป์
(ภาพที่ 8)
ภาพที่ 7
Carsten Höller : Test Site, Tate Gallery of Modern Art
ภาพที่ 8
Top left and right, installation views of Rirkrit Tiravanija’s Untitled 1992
(Free) (re-created 2007). Above left and right, installation views of Untitled 1992
(Free) and a re-creation of Gordon Matta-Clark’s 1972 piece Open House (2007),
all at David Zwirner Gallery.
ซึ่งศิลปินที่ได้รับความสนใจจากความฉับไวและการเชื่อมต่อของสื่อเครือข่ายทั่วโลกมักสร้างโครงการออนไลน์ที่เชิญชวนให้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย
สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ได้พัฒนา (และได้รับการโต้แย้ง)
เป็นทฤษฎีที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งคำถามสำคัญในการอภิปรายเหล่านี้
ได้แก่ การโต้ตอบทางสังคมที่ได้รับแจ้งจากงานดังกล่าวจะส่งเสริมโลกที่ดีขึ้นหรือเป็นเป้าหมายที่เพียงพอสำหรับความสนุกสนานและความบันเทิงหรือไม่
ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพของงานศิลปะเชิงสัมพันธ์
ควรได้รับการประเมินด้านความสวยงามและผลกระทบทางสังคมในระดับใด
เพราะฉะนั้น
กล่าวได้ว่า ศตวรรษที่ 21 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นประเด็นและความคิดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและศิลปินใหม่
ๆ กำลังได้รับความสนใจและมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง
บรรณานุกรม
artsy.net. (2021). Vanessa Beecroft. Retrieved from
https://www.artsy.net/artwork/vanessa-beecroft-vb84-dot-044-dot-nt
Oxford Art Online. (2021). Bio Art. Retrieved from Oxford Art
Online:
https://www.oxfordartonline.com/view/10.1093/gao/9781884446054.001.0001/oao-9781884446054-e-7002088795
Oxford Art Online. (2021). Wangechi Mutu. Retrieved from Oxford
Art Online: https://www.oxfordartonline.com/view/10.1093/gao/9781884446054.001.0001/oao-9781884446054-e-7002086311
Oxford Art Online. (n.d.). Shahzia Sikander. Retrieved from Oxford
Art Online:
https://www.oxfordartonline.com/view/10.1093/gao/9781884446054.001.0001/oao-9781884446054-e-7002022007
oxfordartonline. (2021). Cloaca Original. เข้าถึงได้จาก oxfordartonline:
https://www.oxfordartonline.com/view/10.1093/gao/9781884446054.001.0001/oao-9781884446054-e-8000022762#oao-9781884446054-e-8000022762
Robertson, J. (2021). Art in the 21st Century. Retrieved from
Oxford Art Online:
https://www.oxfordartonline.com/page/art-in-the-21st-century
Saltz, J. (2007, MAY 3). Conspicuous Consumption. Retrieved from
New York Magazine Art Review: https://nymag.com/arts/art/reviews/31511/
universes.art. (2005). Ghada Amer: Trini. 2005. เข้าถึงได้จาก https://universes.art/en/nafas/articles/2007/new-territory-beyond-rfga/ghada-amer-reza-farkhondeh-at-singapore-tyler-print-institute/08
wikipedia. (2021). Carsten Höller. Retrieved from wikipedia: https://de.wikipedia.org/wiki/Carsten_H%C3%B6ller
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น