วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Timeline ศิลปะสมัยใหม่ไทย ระหว่าง พ.ศ. 2500-2532: สุนทรียะแห่งการต่อต้านและคู่ขนาน (โดยสังเขป)

โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ


2471-2480
2472…ชลูด นิ่มเสมอ เกิด
2473…จิตร ภูมิศักดิ์ (ปัญญาชนหัวก้าวหน้าฝ่ายซ้าย) เกิด
            อารี สุทธิพันธุ์ เกิด                 
            พรรคคอมมิวนิสต์สยาม (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ก่อตั้งโดย โฮจิมินห์
2475…ปฏิวัติสยาม        
            ส. ศิวรักษ์ (สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์แนววิพากษ์) เกิด
            พุทธทาสภิกขุ ก่อตั้ง สวนโมกขพลาราม
2477…พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ
            พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรทรงขึ้นครองราชสมบัติ
            จ่าง แซ่ตั้ง เกิด
2478…ประเทือง เอมเจริญ เกิด

2481-2490
2482…เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (2482-2488)
เปลี่ยนชื่อ "สยาม" มาเป็น "ไทย"
นโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
2483…เปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล)
2484…พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
           รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรทางการทหารกับฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น)
            เกิดขบวนการเสรีไทย
2485…คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci เปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี
2486…สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร (12 ตุลาคม)
2487…กมล ทัศนาญชลี เกิด
2488…สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูบนแผ่นดินญี่ปุ่นที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิ
            ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม (สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2)
2489… พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคต (9 มิถุนายน)
            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครอบราชย์สมบัติ

2591-2500
2492…ปรีดี พนมยงค์ ลี้ภัยไปต่างประเทศและไม่ได้กลับประเทศไทยอีก
            สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
2493…หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์แนวประเพณี) ก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
2495…กบฏสันติภาพ
2498…เริ่มสงครามเวียดนาม
2500…จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ ทำรัฐประหาร (16 กันยายน)
            กำเนิดหนังสือ “ศิลปะเพื่อชีวิต เพื่อประชาชน” ของจิตร ภูมิศักดิ์
จิตรกรรม “กรุงเทพ 2500” โดย สมโภชน์ อุปอินทร์

2501-2510
2501…จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกคุมขัง (2501 2507)
2503…จิตร ภูมิศักดิ์ แต่งเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” ในคุก (ประมาณ 2503-2505)
2504…สร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berliner Mauer)
จ่าง แซ่ตั้ง (ศิลปินอิสระ) เขียนภาพนามธรรมแบบไร้รูปเป็นคนแรก
            อารี สุทธิพันธุ์ สำเร็จการศึกษาและกลับจาก USA แสดงงานครั้งแรกที่สถาบัน  AUA
2505…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นครั้งแรก (ครั้งที่ 13)
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อสัญกรรม
พุทธทาสภิกขุสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ  ที่สวนโมกข์ฯ โดยมีแนวคิดใช้ศิลปะเพื่อให้คนถึงธรรมะ
2506…จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ ถึงแก่อสัญกรรม ( 8 ธันวาคม)
            ส. ศิวรักษ์ กำเนิดวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์
2507…14 ศิลปินไทยประท้วงผลการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 15 (ภาพชักกระดาน หมายเลข 2)
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม
2508... วันเสียงปืนแตก (7 ส.ค.: ตำรวจปะทะทหารป่า อ.นาแก นครพนม) มีนโยบาย "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้
            ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง"
            ศิลปะสะท้อนปัญหาสังคมเริ่มครั้งแรกใน ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 16
-จิตรกรรม “สังขาร” โดย สันต์ สารากรบริรักษ์, “ละครโรงใหญ่” โดย ธนะ เลาหกัยกุล
2409… จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกยิงเสียชีวิต
มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งภาควิชาภาพพิมพ์
2510… ภาพพิมพ์แกะไม้ “ใต้ระบอบเผด็จการทหาร” โดย ประพันธ์ ศรีสุตา

2511-2520
           ทศวรรษ 2510-2520 ช่วงรุ่งเรืองศิลปะนามธรรมในไทย (ปรีชา กรชุนกะ,พิษณุ ศุภนิมิตร, อิทธิพล ตั้ง โฉลก, กมล สุวุฒโท, เดชา วราชุน, ทวน ธีระพิจิตร, ธงชัย รักปทุม, กัญญา เจริญศุภกุล, อิทธิ คงคากุล, วิโรจน์ เจียมจิรวัฒน์, สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงษ์, อินสนธ์ วงศ์สาม, นนทิวรรษ จันทนผลิน, วิชัย สิทธิรัตน์, เขมรัตน์ กองสุข, ฯลฯ)
2511… จิตรกรรม “เลือด-เนื้อ-ศรัทธา” โดย ประเทือง เอมเจริญ นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 18
            เกิดภาควิชาศิลปศึกษา วิทยาลัยประสานมิตร
2512… จิตรกรรม “ผนัง” โดย ประเทือง เอมเจริญ นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 19
2514… จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร (ตัวเอง)
เหตุการณ์ทำลายภาพเขียนถวัลย์ ดัชนี ณ สำนักงานกลางคริสเตียน (ข้อหาลบหลู่พุทธศาสนา)
            ศิลปินกลุ่มธรรม แสดงนิทรรศการ ครั้งแรก นำโดย ประเทือง เอมเจริญ แกนนำ
2515… จิตรกรรมสะท้อนสังคม “เจ้าแม่กาลีศตวรรษ 20” โดยสมชัย หัตถกิจโกศล ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 21
2516… เหตุการณ์ 14 ตุลา (นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจาก 
             รัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร นำไปสู่การใช้กำลังของรัฐบาล)
            จิตรกรรม “ธรรมะ อธรรม” โดย ประเทือง เอมเจริญ
            จิตรกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง ในปี 1973” โดยจ่าง แซ่ตั้ง
2517… กำเนิดแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย
            นิทรรศการคัตเอาท์การเมือง เกาะกลางถนนราชดำเนิน ครบรอบ 2 ปี 14 ตุลา 16
            เปิดหอศิลป์ พีระศรี (14 พ.ค.)
             กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกาว่า ศรีบูรพา เสียชีวิต
2518… สิ้นสุดสงครามเวียดนาม
ศิลปินกลุ่มธรรม แสดงนิทรรศการ ครั้งที่ 2
2519… เหมาเจ๋อตง ถึงแก่อสัญกรรม
ภาพเขียนขับไล่ฐานทัพอเมริกา รอบสนามหลวง โดย แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย
จอมพลถนอม กิตติขจร กลับประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณร เกิดประท้วงขับไล่เป็นชนวนเหตุการณ์ 6 
ตุลา 19
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19: การล้อมปราบนักศึกษาประชาชน (ธรรมศาสตร์, สนามหลวง)
มนัส เศียรสิงห์ ศิลปินนักกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา และถูกกระสุนปืนเสียชีวิตเหตุการณ์ 6 ตุลา
19
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ลาออกจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19  
และเดินทางออกนอปกระเทศ
ศิลปินกลุ่มธรรม แสดงนิทรรศการ ครั้งที่ 3 (5 ตุลาคม 19 ต้องเอาผลงานออก)
มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งภาควิชาศิลปะไทย (เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร)
ผลงานจิตรกรรมชุด “ทศชาติ” โดย ถวัลย์ ดัชนี
            จิตรกรรมชุด “แสง เงา” โดย ปรีชา เถาทอง เหรียญทอง 3 ครั้ง การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ (2519-
            2521)
2520… วิวาทะ ประเด็น “ศิลปะเพื่อศิลปะ” “ศิลปะเพื่อชีวิต” (พิษณุ ศุภ.-อำนาจ เย็นสบาย)
            เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า

2521-2532
2521… เกิดศิลปินกลุ่มกังหัน (กลุ่มโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ 2521-2526) (สมบูรณ์ พวงดอกไม้, ไพศาล ธีรพงษ์
             วิษณุพร)
2522… ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย (สมาคมศิลปกรรมไทย: แนวร่วมฯ) (กำจร สุนพงษ์ศรี เป็นแกนนำ)
            เปิดหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
2523... คำสั่งที่ 66/2523 (เปลี่ยนแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้กลับมาเป็นแนวร่วมของทาง
            ราชการ)
            กำเนิดหนังสือ “โลกศิลปะ” (อารี ฯ, ประเทืองฯ , สมโภชน์ฯ: ที่ปรึกษา_อำนาจ ฯ,วิรุณ ตั้งเจริญ: นัก
            เขียน) (2523-30)
            เกิดกลุ่ม “ศิลปะไทย 23” นำโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร
2524…เกิดกลุ่มประติมากรไทย นำโดย คณาจารย์ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2525... เกิด “กลุ่มไวท์” นำโดย วิโชค มุกดามณี, พิชิต ตั้งเจริญ และมณเฑียร บุญมา
            ผลงาน “ประติมากรรมชนบท” โดย ชลูด นิ่มเสมอ
2526…ปรีดี พนมยงค์ (ผู้อภิวัฒน์สยาม, ผู้สถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) ถึงแก่อสัญกรรม
            เกิดศิลปิน “กลุ่มอีสาน”
เฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ
2527... โครงการเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป ณ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2527 -30) นำโดย เฉลิมชัยฯ, ปัญญาฯ
2528…การแสดง “บทเพลงแห่งศิลปะที่ตายแล้ว” โดย กมล เผ่าสวัสดิ์
2530…ผลงาน “เสียงหัวเราะสีฟ้า” โดย อภินันท์ โปษยานนท์
2531…หอศิลป์ พีระศรีหยุดทำการลงถาวร
2532… การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
            “เรื่องราวแห่งท้องทุ่ง” นิทรรศการครั้งแรกของ มณเฑียร บุญมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น