โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ (อาจารย์ประจำ
ภาควิชาสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม )
จากที่ได้เข้าไปชมนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 4 หัวข้อ สมเด็จพระเทพฯ ของชาวไทย” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พบว่าผลงานจิตรกรรมส่วนใหญ่จะนำเสนอภาพของ “ความเหมือน” มากกว่ารูปแบบอื่นๆ ภาพที่ดูเหมือนจริงนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการแสดงออกในแบบเดียวกันกับภาพถ่ายด้วยกล้อง แต่ความเหมือนจริงที่ปรากฏเป็นการแสดงคำอธิบายด้วยภาพที่เน้นไปที่การตีความง่ายๆ ศิลปินส่วนใหญ่จึงเลือกการสร้างสรรค์ผลงานที่อยู่ในรูปของผลงานแบบเหมือนจริง (realistic) โดยแสดงสาระของพื้นผิวและมิติลวงที่ปรากฏบนระนาบ 2 มิติ
“ความเหมือนจริง” อยู่คู่กับการสร้างงานจิตรกรรมมาอย่างยาวนาน โดย“ความเหมือนจริง” ทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ ผ่านทักษะชั้นสูงของศิลปิน
แต่เมื่อยุคสมัยกล้องถ่ายภาพเกิดขึ้น ความเหมือนจริงของจิตรกรรมจึงมีความหมายที่เปลี่ยนไป จิตรกรรมจึงทำหน้าที่สื่อสารความคิด (concept) มากกว่าการสื่อแค่ความเหมือนจริง
แต่ความเหมือนจริงในภาพจิตรกรรมนั้นจึงมิใช่เพื่อให้เหมือน “ความจริง” แต่เป็นการแทนความหมายความจริง (representation) เพื่อให้ผู้ดูได้ตีความหมายได้ง่ายและสามารถเข้าถึงสารัตถะของจิตรกรรมที่สร้างมิติลวงตาผ่านทฤษฎีทัศนียวิทยา (perspective)
หรือกล่าวได้ว่า… จิตรกรรมแนวเหมือนจริงทำหน้าที่ในการแทนความหมายของความจริง แต่ในความเป็นจริงนั้นมิใช่ความจริงตามที่ตาเห็น แต่เป้นความจริงที่ “ศิลปินต้องการให้ผู้ดูได้เห็นอะไร” ต่างหาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น