โดย: สุริยะ ฉายะเจริญ
อาจารย์ประจำ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ภาพเปลือย หรือ nude คือ
ประเด็นทางศิลปะที่มีรอยต่อที่พร่าเลือนระหว่าง
“ความงาม” และ “ศีลธรรม” มาโดยตลอด
อาจจะกล่าวได้ว่าตลอดประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาพเปลือย ถูกวาดนับไม่รู้กี่ล้านต่อกี่ล้านภาพ แสดงนิทรรศการอีกนับไม่ถ้วนเช่นกัน
และเกือบร้อยละ 100 มักถูกตั้งคำถามว่า
“ผิดศีลธรรมที่ดี” หรือไม่!?
หากแต่การเสพภาพเปลือยในฐานะทางศิลปะจำเป็นหรือไม่ที่ต้องทบทวนประเด็นดังกล่าว
นั่นย่อมเป็นเหตุผลเชิงอัตวิสัย ( subjectivity) มากกว่าภววิสัย (objectivity)
…
การเสพภาพเปลือยในฐานะทางศิลปะจึงอาจต้องทำลายอคติทางศีลธรรมลงไปก่อน
เพื่อให้การจ้องมองภาพเปลือยนั้นประจักษ์แก่ผู้เสพและสัมผัสความรู้สึกภายในจนนำไปสู่การตีความโดยส่วนบุคคล
เพื่อปล่อยจิตใจให้สัมผัสกับภาพที่ปรากฏ
จากนั้นจึงวิเคราะห์สุนทรียธาตุและทัศนธาตุตรงหน้าว่ามีสาระต่อการเสพอย่างไรบ้าง
จิตรกรรมที่เป็นเสมือนละครเรื่องหนึ่งอันปรากฏอยู่เบื้องหน้าผู้ดู
จึงมิอาจตัดสินความถูกผิดภายใต้กฏเกณฑ์ใดกฏเกณฑ์หนึ่ง
หากแต่การทำความเข้าใจต้องอาศัยบริบทของประสอบการณ์ในการจ้องมองที่หลากหลาย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การจ้องมองจิตรกรรมนั้น
จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีวิธีเฉพาะหากแต่หลากหลายแง่มุม เพื่อเสริมความเข้าใจและความซาบซึ้งให้เข้าถึงภาพนั้นๆ (way
of seeing)
กรณีของภาพเปลือยก็เช่นเดียวกัน การทำความเข้าใจและซาบซึ้งในภาพผลงาน
( art appreciation) จึงต้องปล่อยใจให้เข้าสู่สิ่งปรากฏตรงหน้าเสียก่อน เพื่อเป็นสะพานนำไปสู่การวิเคราะห์ และตีความ ประกอบกับสุนทรียภาพ เพื่อให้ได้รับสุนทรียรสที่สัมผัสได้ ซึ่งเป็นประสบการณ์เชิงปัจเจกส่วนบุคคล
อาจจะกล่าวได้ว่าตลอดประวัต
หากแต่การเสพภาพเปลือยในฐาน
…
การเสพภาพเปลือยในฐานะทางศิ
จิตรกรรมที่เป็นเสมือนละครเ
กรณีของภาพเปลือยก็เช่นเดีย
...
นิทรรศการ “Something about nude: บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับภาพเปลือย” โดย
สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ ณ หอศิลป์วังหน้า กรุงเทพฯ ( นิทรรศการเปิดตั้งแต่ 1- 30 พฤศจิกายน 2560 )